ในบรรดากาแล็กซีจำนวนมากที่รวมกันเป็นเอกภพนั้น มีอยู่กาแล็กซีหนึ่งที่เรารู้จักกันดีที่สุด นั่นคือ ทางช้างเผือก เนื่องจากเป็นกาแล็กซีที่เราตั้งรกรากอยู่ และเนื่องจากว่าทางช้างเผือกนี้มีส่วนปลายด้านหนึ่งเป็นแนวราบซึ่งเป็นที่อยู่ของดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ทั้งหลายที่เป็นดาวบริวาร ทำให้เราได้แต่เฉพาะด้านข้างของมันเมื่อมองไปบนฟ้าในเวลากลางคืน และจะแลเห็นมันเป็นเหมือนแถบสีขาวสว่างสุกใสแถบหนึ่งพาดอยู่บนฟากฟ้าจากข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง
ประวัติ (HISTORY
อริสโตเติล (Aristotle) คิดว่าแถบสีขาวที่พาดข้ามฟ้าเป็นความปั่นป่วนอย่างหนึ่งของบรรยากาศในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อมีการสร้างกล้องโทรทรรศน์ขึ้นได้เป็นครั้งแรกแล้วนั้น กาลิเลโอก็ได้พบว่าแถบสีขาวนี้แท้ที่จริงประกอบขึ้นด้วยดาวฤกษ์จำนวนมากและไม่ได้เป็นปรากฎการณ์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบรรยากาศของโลกเราเลยแม้แต่น้อย ต่อมาก็ได้มีการค้นพบดาวฤกษ์ใหม่ ๆ ทีละดวงสองดวง และตั้งแต่นั้นมา คำว่าทางช้างเผือก (the Milky Way) ก็มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าเอกภพ (the Universe) แต่ครั้นถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 อันเป็นยุคที่มีการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ใหม่ กลับพบว่ามีหมู่ของดาวฤกษ์ (Clusters of Stars) อื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกลออกไปอีกเป็นจำนวนมหาศาล นั่นคือกาแล็กซีใหม่จำนวนมาก ดังนั้นเอกภพจึงไม่ใช่เป็นแค่ทางช้างเผือกอีกต่อไป แต่มันคือที่รวมของกาแล็กซีต่าง ๆ รวมทั้งกาแล็กซีของเราด้วย
รูปร่างของกาแล็กซีของเรา (THE SHAPE OF OUR GALAXY)
เมื่อเรามองทางช้างเผือก เราจะแลเห็นว่ามันเป็นรูปแถบยาวแถบหนึ่ง แต่นั้นเป็นแต่สิ่งที่เราเห็นด้วยตา เพราะว่าเราอยู่ในระนาบเดียวกัน ที่จริงแล้วทางช้างเผือกเป็นกาแล็กซีรูปเกลียวก้นหอย (spiral) ที่ตรงกลางมีรูปคล้ายเลนส์หรือจานแบนใบหนึ่งและมีแขนยื่นออกมาจากส่วนกลางนั้น 4 แขน ดวงอาทิตย์และโลกของเราอยู่ตรงปลายสุดของ 1 ใน 4 แขนนี้
วิวัฒนาการของทางช้างเผือก (EVOLUTION OF THE MILKY WAY)
ดูเหมือนว่าทางช้างเผือกนั้นแต่เดิมเป็นกาแล็กซีรูปทรงกลมที่หมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วต่ำ ต่อมาเมื่อสสารระหว่างดวงดาวตรงใจกลางมีมากขึ้นทำให้มีความหนาแน่นเพิ่มขึ้นและความเร็วในการหมุนรอบตัวเองก็เพิ่มขึ้นด้วย เป็นเหตุให้มันค่อย ๆ แผ่เบนออกกลายเป็นรูปจานอย่างที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน และเพราะว่ามีดาวฤกษ์ได้ก่อตัวขึ้นตรงบริเวณชายขอบจานทำให้เกิดเป็นแขนหลายแขนยื่นออกมา จนในที่สุดก็เกิดเป็นรูปเกลียวก้นหอยรูปหนึ่งที่มีแขน 4 แขน กระบวนการนี้กินเวลาประมาณ 10,000 ล้านปี ใจกลางของทางช้างเผือกมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15,000 ปีแสง และมีความหนาราว 2,000 ปีแสง มีการคำนวณกันว่าทางช้างเผือกประกอบขึ้นด้วยดาวฤกษ์ประมาณ 300,000 ดวง ดาวทุกดวงที่เรามองเห็นด้วยตาเปล่าเป็นส่วนหนึ่งของกาแล็กซีของเรา
cd:http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/phayao/oraphin_s/darasat/section1_p06.html