ฮาโลวีน

    วันฮาโลวีน (ภาษาอังกฤษ ; Halloween) เป็นงานฉลองในคืนวันที่ 31 ตุลาคม ประเทศทางตะวันตก เด็กๆ จะแต่งกายเป็นภูตผีปีศาจพากันชักชวนเพื่อนฝูงออกไปงานฉลอง มีการประดับประดาแสงไฟ และที่สำคัญคือแกะสลักฟักทองเป็นโคมไฟ เรียกว่า แจ๊ก-โอ’-แลนเทิร์น (jack-o’-lantern)

การฉลองวันฮาโลวีนนิยมจัดกันในสหรัฐอเมริกา ไอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร แคนาดา และยังมีในออสเตรเลีย กับนิวซีแลนด์ด้วย รวมถึงประเทศอื่นในทวีปยุโรปก็นิยมจัดงานวันฮาโลวีนเพื่อความสนุกสนาน

ประวัติ

วันที่ 31 ต.ค. เป็นวันที่ชาว เคลต์ (Celt) ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเผ่าหนึ่งในไอร์แลนด์ ถือกันว่า เป็นวันสิ้นสุดของฤดูร้อน และวันต่อมา คือ วันที่ 1 พ.ย. เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งในวันที่ 31 ต.ค. นี่เองที่ชาวเคลต์เชื่อว่า เป็นวันที่มิติคนตาย และคนเป็นจะถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน และวิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตในปีที่ผ่านมาจะเที่ยวหาร่างของคนเป็นเพื่อสิงสู่ เพื่อที่จะได้มีชีวิตขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เดือดร้อนถึงคนเป็น ต้องหาทุกวิถีทางที่จะไม่ให้วิญญาณมาสิงสู่ร่างตน ชาวเคลต์จึงปิดไฟทุกดวงในบ้าน ให้อากาศหนาวเย็น และไม่เป็นที่พึงปรารถนาของบรรดาผีร้าย นอกจากนี้ยังพยายามแต่งกายให้แปลกประหลาด ปลอมตัวเป็นผีร้าย และส่งเสียงดังอึกทึก เพื่อให้ผีตัวจริงตกใจหนีหายสาบสูญไป

โคมรูปฟักทอง แจ๊ก-โอ’-แลนเทิร์น

บางตำนานยังเล่าถึงขนาดว่า มีการเผา “คนที่คิดว่าถูกผีร้ายสิง” เป็นการเชือดไก่ให้ผีกลัวอีกต่างหาก แต่นั่นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนคริสตกาล ที่ความคิดเรื่องผีสางยังฝังรากลึกในจิตใจมนุษย์ ต่อมาในศตวรรษแรกแห่งคริสตกาล ชาวโรมันรับประเพณีฮาโลวีนมาจากชาวเคลต์แต่ได้ตัดการเผาร่างคนที่ถูกผีสิงออก เปลี่ยนเป็นการเผาหุ่นแทน กาลเวลาผ่านไป ความเชื่อเรื่องผีจะสิงสูร่างมนุษย์เสื่อมถอยลงตามลำดับ ฮาโลวีนกลายเป็นเพียงพิธีการ การแต่งตัวเป็นผี แม่มด สัตว์ประหลาดตามแต่จะสร้างสรรค์กันไป ประเพณีฮาโลวีนเดินทางมาถึงอเมริกาในทศวรรษที่ 1840 โดยชาวไอริชที่อพยพมายังอเมริกา สำหรับประเพณี ทริกออร์ทรีต (Trick or Treat แปลว่า หลอกหรือเลี้ยง) นั้น เริ่มขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 โดยชาวยุโรป ซึ่งถือว่า วันที่ 2 พ.ย. เป็นวัน ‘All Souls’ พวกเขาจะเดินร้องขอ ‘ขนมสำหรับวิญญาณ’ (soul cake) จากหมู่บ้านหนึ่งไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่ง โดยเชื่อว่า ยิ่งให้ขนมเค้กมากเท่าไร วิญญาณของญาติผู้บริจาคก็ได้รับผลบุญ ทำให้มีโอกาสขึ้นสวรรค์ได้มากเท่านั้น

การเล่น trick or treat ตามบ้านคน

ส่วนตำนานที่เกี่ยวกับฟักทองนั้น เป็นตำนานพื้นบ้านของชาวไอริช ที่กล่าวถึง แจ๊คจอมตืด ซึ่งเป็นนักเล่นกลจอมขี้เมา วันหนึ่งเขาหลอกล่อปีศาจขึ้นไปบนต้นไม้ และเขียนกากบาทไว้ที่โคนต้นไม้ ทำให้ปีศาจลงมาไม่ได้ จากนั้นเขาได้ทำข้อตกลงกับปีศาจ ‘ห้ามนำสิ่งไม่ดีมาหลอกล่อเขาอีก’ แล้วเขาจะปล่อยปีศาจลงจากต้นไม้ เมื่อแจ็คตายลง เขาปฏิเสธที่จะขึ้นสวรรค์ ขณะเดียวกันปฏิเสธที่จะลงนรก ปีศาจจึงให้ถ่านที่กำลังคุแก่เขา เพื่อเอาไว้ปัดเป่าความหนาวเย็นท่ามกลางความมืดมิด และแจ็คได้นำถ่านนี้ใส่ไว้ในหัวผักกาดเทอนิพที่ถูกเจาะให้กลวง เพื่อให้ไฟลุกโชติช่วงได้นานขึ้น ชาวไอริชจึงแกะสลักหัวผักกาดเทอนิพ และใส่ไฟในด้านใน อันเป็นอีกสัญลักษณ์ของวันฮาโลวีน เพื่อระลึกถึง ‘การหยุดยั้งความชั่ว’ Trick or Treat เพื่อส่งผลบุญให้กับญาติผู้ล่วงลับ และพิธีทางศาสนาเพื่อทำบุญวันปีใหม่ แต่เมื่อมีการฉลองฮาโลวีนในสหรัฐอเมริกา ชาวอเมริกาพบว่า ฟักทองหาง่ายกว่าหัวผักกาดมาก จึงเปลี่ยนมาใช้ฟักทองแทน หัวผักกาดจึงกลายเป็นฟักทองด้วยเหตุผลฉะนี้

ประเพณีทริกออร์ทรีต ในสหรัฐอเมริกาคือการละเล่นอย่างหนึ่งที่เด็ก ๆ เฝ้ารอคอย ในวันฮาโลวีนตามบ้านเรือนจะตกแต่งด้วยโคมไฟฟักทองและตุ๊กตาหุ่นฟางที่เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลประเพณีเก็บเกี่ยว (Harvest) ในช่วงเดียวกันนั้น แต่ละบ้านจะเตรียมขนมหวานที่ทำเป็นรูปเม็ดข้าวโพดสีขาวเหลืองส้มในเม็ดเดียวกัน เรียกว่า Corn Candy และขนมอื่นๆไว้เตรียมคอยท่า ส่วนเด็กๆ ในละแวกบ้านก็จะแต่งตัวแฟนซีเป็นภูตผีมาเคาะตามประตูบ้าน โดยเน้นบ้านที่มีโคมไฟฟักทองประดับ (เพราะมีความหมายโดยนัยว่าต้อนรับพวกเขา) พร้อมกับถามว่า “Trick or treat?” เจ้าของบ้านมีสิทธิที่จะตอบ treat ด้วยการยอมแพ้ มอบขนมหวานให้ภูตผี(เด็ก)เหล่านั้น ราวกับว่าช่างน่ากลัวเหลือเกิน หรือเลือกตอบ trick เพื่อท้าทายให้ภูตผีเหล่านั้นอาละวาด ซึ่งก็อาจเป็นอะไรได้ ตั้งแต่แลบลิ้นปลิ้นตาหลอกหลอน ไปจนถึงขั้นทำลายข้าวของเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้วอาจจบลงด้วยการ treat เด็ก ๆ ได้ขนมในที่สุด

cd:http://th.wikipedia.org/wiki/วันฮาโลวีน

ช็อกโกแลต

ช็อกโกแลต หรือ ช็อกโกเลต (อังกฤษ: chocolate) คือผลิตผลที่ได้มาจากเมล็ดของต้นโกโก้เขตร้อน ช็อกโกแลตเป็นส่วนผสมของของหวานหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นไอศกรีม ลูกอม คุกกี้ เค้ก หรือว่าพาย ช็อกโกแลตถือได้ว่าเป็นของหวานอย่างหนึ่งที่ถูกใจคนทั่วโลก

ช็อกโกแลตทำจากการหมัก คั่ว และบดอย่างละเอียดของเมล็ดโกโก้ซึ่งได้มาจากต้นโกโก้เขตร้อน (tropical cacao tree) ซึ่งมีต้นกำเนิดจากอเมริกากลางและเม็กซิโก ต้นโกโก้นั้นค้นพบโดยชาวอินเดียนแดงและชาวอัซเตก (Aztecs) แต่ในปัจจุบันได้แพร่กระจายและปลูกไปทั่วเขตร้อน เมล็ดของต้นโกโก้นั้นมีรสฝาดที่เข้มข้นมาก ผลผลิตของเมล็ดโกโก้รู้จักกันในนาม “ช็อกโกแลต” หรือบางส่วนของโลกในนาม “โกโก้”

ผลิตภัณฑ์จากเมล็ดโกโก้รู้จักภายใต้หลายชื่อแตกต่างกันไปในส่วนต่าง ๆ ของโลก ในอเมริกา อุตสาหกรรมช็อกโกแลตได้จำกัดความไว้ว่า

  • โกโก้ (cocoa) คือเมล็ดของต้นโกโก้
  • เนยโกโก้ (cocoa butter) คือไขมันของเมล็ดโกโก้
  • ช็อกโกแลต (chocolate) คือส่วนผสมระหว่างเมล็ดของต้นโกโก้และเนยโกโก้

ช็อกโกแลตคือส่วนผสมระหว่างเมล็ดของฝักถั่วโกโก้และเนยโกโก้ ซึ่งได้ผสมน้ำตาลและส่วนผสมอื่น ๆ และทำให้อยู่ในรูปของแท่งและรูปอื่น ๆ

เมล็ดของต้นโกโก้นอกจากทำเป็นช็อกโกแลตได้แล้วยังสามารถทำเป็นเครื่องดื่มได้ด้วย เช่น ช็อกโกแลตร้อน เครื่องดื่มช็อกโกแลตนั้นคิดค้นขึ้นโดยชาวอัซเตก (Aztecs) หลังจากนั้นโดยชนเผ่าอินเดียนแดงและชาวยุโรป

บ่อยครั้งที่ช็อกโกแลตมักจะทำให้อยู่ในรูปของสัตว์ต่าง ๆ คน หรือวัตถุในจินตนาการ เพื่อร่วมในงานเฉลิมฉลองต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น รูปกระต่าย รูปทรงไข่ในเทศกาลอีสเตอร์ รูปของเหรียญหรือซานตาคลอสในเทศกาลคริสต์มาส และรูปทรงหัวใจในเทศกาลวาเลนไทน์

ประวัติ

ช็อกโกแลตค้นพบมาตั้งแต่สองพันปีที่แล้ว หลังสมัยพระนางคลีโอพัตราแห่งอียิปต์ เป็นผลผลิตที่ได้จากเมล็ดของต้นคาเคา (cacao) ในป่าร้อนชื้นของทวีปอเมริกา จัดอยู่ในตระกูล Theobroma cacao แปลว่า “อาหารแห่งทวยเทพ”

ชนกลุ่มแรกที่รู้จักทำช็อกโกแลตเป็นอารยธรรมโบราณที่อยู่ในเม็กซิโก และอเมริกากลาง ชนกลุ่มนี้ได้แก่ชาวมายา และชาวแอซเทค แห่งอารยธรรมเมโสอเมริกา คนเหล่านี้เอาเมล็ดคาเคามาบดแล้วผสมกับเครื่องปรุงหลายชนิดเพื่อทำเป็นเครื่องดื่มที่มีรสขมเฝื่อน นอกจากใช้ประกอบอาหารแล้วช็อกโกแลตยังเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตเชิงศาสนาและสังคมด้วย

ชาวมายา (ค.ศ. 250-900) เป็นชนชาติแรกที่มีหลักฐานชัดเจนว่าได้ค้นพบความลับของต้นคาเคา โดยพวกเขาได้นำต้นคาเคามาจากป่าฝนและปลูกไว้ที่สวนหลังบ้าน พอออกฝักก็เก็บเอาเมล็ดมาหมักบ้าง คั่วบ้าง และยังบดเป็นเนื้อเหนียว อยากชงเป็นเครื่องดื่มก็เอามาผสมน้ำ โรยพริกไท แป้งข้าวโพด ก็จะได้เครื่องดื่มช็อกโกแลตรสซาบซ่ามีฟองฟ่อง

ต่อมาราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 อาณาจักรของชาวแอซเทคครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของอารยธรรมเมโสอเมริกา โดยมีเมืองหลวงตั้งอยู่ที่เมืองปัจจุบันเรียกว่า เม็กซิโก ซิตี้ ชาวแอซเทคได้ซื้อขายเมล็ดคาเคากับชาวมายาและชนชาติอื่น และยังเรียกเก็บค่าบรรณาการจากพลเมืองของตนและเชลยเป็นเมล็ดคาเคา โดยใช้แทนค่าเงิน ชาวแอซเทคนิยมดื่มช็อกโกแลตขมเช่นเดียวกับชาวมายายุคแรก โดยปรุงรสชาติให้ซู่ซ่าขึ้นด้วยเครื่องเทศ ชาวเมโสอเมริกาสมัยนั้นยังไม่มีใครปลูกอ้อยก็เลยไม่มีใครใส่น้ำตาลกัน

เล่ากันว่า คนมายายุคคลาสสิกชอบดื่มช็อกโกแลตกันในวาระพิเศษ ขณะที่บรรดาเชื้อพระวงศ์จะนิยมดื่มกันมาก ส่วนชาวแอซเทค บรรดาผู้ปกครองระดับสูง พระ ทหารยศสูง และพ่อค้าที่มีหน้ามีตาเท่านั้นที่มีสิทธิลิ้มรสเครื่องดื่มศักดิ์สิทธิ์นี้ ช็อกโกแลตมีบทบาทสำคัญในพิธีของราชวงศ์และศาสนา เพราะใช้เมล็ดคาเคาเป็นเครื่องสักการะเทพเจ้า และดื่มในพิธีสำคัญ

สำหรับที่มาของชื่อช็อกโกแลตนั้นยังไม่มีใครอธิบายได้แจ่มชัด แต่มีความเป็นไปได้สองทาง ทางแรกเป็นคำที่ผันมาจากคำว่า “ช็อคโกลัจ” ในภาษามายา ซึ่งหมายถึง มาดื่มช็อกโกแลตด้วยกัน อีกทางหนึ่งอธิบายว่าน่าจะมาจากภาษามายาเช่นกัน คือ ” chocol” แปลว่า ร้อน ผสมกับคำว่า “atl” ของแอซเทคที่แปลว่า น้ำ พอมารวมกันจึงกลายเป็นคำว่า chocolatl และมาเป็น chocolate ต่อมาในยุโรป

โดยความเชื่อของชาวแอชเต็คส์ ประเทศเม็กซิโก “เมล็ดโกโก้เป็นอาหารที่เทพเจ้ามอบให้เพื่อเป็นใบเบิกทางไปสู่สวรรค์” เมื่อประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว ซึ่งทำให้พวกเขานำเมล็ดโกโก้มาทำเป็นเครื่องดื่มนั่นก็คือ “น้ำช็อกโกแลต” ต่อมานายเออร์นัน คอร์เตช นักสำรวจชาวสเปนแล่นเรือมาพบกับชาวแอชเต็คส์ ซึ่งเขาได้อาศัยอยู่กับชาวแอชเต็คส์และร่วมดื่มน้ำช็อกโกแลตด้วยกัน และนายคอร์เตชได้นำเมล็ดโกโก้กลับประเทศเพื่อลองทำเครื่องดื่มดูบ้าง และแต่งเติมรสให้หวานขึ้นจนเป็นเครื่องดื่มที่นิยมกันในสเปน จนในมี่สุด นายคอนราด เจ แวนฮูเตนท์ ชาวดัชได้ค้นพบการทำช็อกโกแลตแบบแท่ง เม็ด และผง[ต้องการอ้างอิง]

ชนิดของช็อกโกแลต

ช็อกโกแลตเป็นส่วนผสมที่นิยมมาก และมีให้เลือกในหลากหลายรูปแบบ รูปแบบและรสชาติของช็อกโกแลตนั้นแตกต่างกันได้โดยส่วนผสมและปริมาณของส่วนผสมในช็อกโกแลต นอกจากส่วนผสมแล้วรสชาติยังแตกต่างกันโดยระยะเวลาและอุณหภูมิของการคั่วเมล็ดโกโก้ด้วย

ช็อกโกแลตที่ไม่ได้เพิ่มความหวาน

ช็อกโกแลตที่ไม่ได้เพิ่มความหวาน (unsweetened chocolate) คือ ช็อกโกแลตเหลวบริสุทธิ์หรือที่รู้จักกันในนาม ช็อกโกแลตฝาด ใช้ในการอบอาหาร และเป็นช็อกโกแลตที่ไม่มีการเจือปนใด ๆ ทั้งสิ้น ช็อกโกแลตชนิดนี้จะมีรสชาติเข้มข้มและลุ่มลึกของช็อกโกแลตบริสุทธิ์ แต่อย่างไรก็ดีเมื่อมีการเพิ่มน้ำตาลเข้าไป ช็อกโกแลตชนิดนี้จะใช้เป็นส่วนผสมหลักในการทำบราวนี เค้ก ลูกกวาด และคุกกี้

ช็อกโกแลตดำ

ช็อกโกแลตดำ (dark chocolate) คือช็อกโกแลตที่ไม่ได้เพิ่มนมเป็นส่วนประกอบ ซึ่งบางครั้งก็เรียกเป็นช็อกโกแลตธรรมดา แต่ว่าทางรัฐบาลสหรัฐฯ เรียกเป็นช็อกโกแลตหวาน และกำหนดให้มีส่วนผสมของช็อกโกแลตเหลวบริสุทธิ์เข้มข้น 15% แต่ทางยุโรปได้กำหนดให้มีส่วนผสมของเมล็ดโกโก้อย่างน้อย 35% ช็อกโกแลตดำมีสารฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นสารแอนติออกซิแดนท์ป้องกันมิให้เกิดคราบไขมันสะสมที่ผนังหลอดเลือดหัวใจ สาเหตุของโรคหัวใจเลือดตีบ และช่วยป้องกันไม่ให้เกล็ดเลือดแข็งตัว สาเหตุของการอุดตันในหลอดเลือด และป้องกันความดันโลหิตสูง [1]

ช็อกโกแลตนม

ช็อกโกแลตนม (milk chocolate) คือช็อกโกแลตที่ผสมนมหรือนมข้นหวาน รัฐบาลสหรัฐฯ กำหนดว่าหากจะเรียกว่าช็อกโกแลตนม ต้องมีส่วนผสมของช็อกโกแลตเหลวบริสุทธิ์เข้มข้น 10% แต่ทางยุโรปได้กำหนดให้มีส่วนผสมของเมล็ดโกโก้อย่างน้อย 25%

ช็อกโกแลตชนิดนี้มีส่วนผสมของเนยโกโก้ (cocoa butter) นม และยังเพิ่มความหวานและรสชาติลงไปด้วย ช็อกโกแลตนมนี้ใช้สำหรับแต่งหน้าขนมได้เป็นอย่างดี ช็อกโกแลตนมที่ทำในประเทศสหรัฐฯ ต้องประกอบด้วยน้ำช็อกโกแลตอย่างน้อย 10% และนมที่ไม่ได้เอามันเนยออก 12%

ช็อกโกแลตลิเคียวร์

เป็นผลผลิตจากเมล็ดโกโก้นำมาบดละเอียด แล้วนำมาคั้นเอาแต่น้ำ น้ำช็อกโกแลตนี้สามารถทำให้เย็นและทำให้แข็งตัวโดยใส่พิมพ์ไว้ แต่ช็อกโกแลตที่ได้เป็นชนิดที่ไม่หวาน น้ำช็อกโกแลตนี้จะมีส่วนผสมของโกโก้บัตเตอร์ประมาณ 53%

[แก้]ช็อกโกแลตกึ่งหวาน

ช็อกโกแลตกึ่งหวาน (semi-sweet) อยู่ในรูปของเหลวแล้วเพิ่มความหวานและใส่เนยโกโก้ลงไปด้วย สีของช็อกโกแลตชนิดนี้สีจะเข้ม ตามมาตรฐานของสหรัฐฯ จะมีส่วนผสมของน้ำช็อกโกแลตประมาณ 35% และมีไขมันประมาณ 27% ช็อกโกแลตชนิดนี้จะมีรสหวานเล็กน้อยและกลมกล่อม

ช็อกโกแลตหวาน

ช็อกโกแลตหวาน (sweet chocolate) ช็อกโกแลตชนิดนี้จะเพิ่มความหวานลงไปมากกว่าช็อกโกแลตแบบหวานน้อย และมีส่วนผสมของน้ำช็อกโกแลตอย่างน้อย 1 % ช็อกโกแลตชนิดนี้ใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำขนมและตกแต่งขนม และยังมีไขมันเท่า ๆ กับช็อกโกแลตแบบหวานน้อย

ช็อกโกแลตขาว

ช็อกโกแลตขาว (white chocolate) ชนิดนี้มีส่วนผสมของเนยโกโก้ แต่ไม่มีโกโก้ที่อยู่ในรูปของไขมัน แต่จะประกอบไปด้วยน้ำตาล เนยโกโก้ นมสด และใส่กลิ่นวานิลลาลงไปด้วย ช็อกโกแลตขาวนี้จะแตกหักง่าย หากเป็นของปลอมจะทำมาจากน้ำมันพืชมากกว่าเนยโกโก้

ลิควิดช็อกโกแลต

เป็นช็อกโกแลตที่ไม่หวาน ส่วนใหญ่จะบรรจุขายเป็นขวด ขวดละ 1 ออนซ์ และเนื่องจากมันไม่ละลายจึงสะดวกในการใช้มาก โดยพัฒนาขึ้นมาสำหรับใช้ทำขนมอบ อย่างไรก็ดีเนื่องจากมีส่วนผสมของน้ำมันพืชมากกว่าเนยโกโก้ ซึ่งเนื้อช็อกโกแลตจะแตกต่างกัน ปกติแล้วช็อกโกแลตชนิดนี้จะมีรสไม่หวาน

กูแวร์ตูร์

ช็อกโกแลตชนิดกูแวร์ตูร์ (couverture) เป็นชนิดที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวคือจะเป็นมันเงา โดยปกติจะมีส่วนผสมของเนยโกโก้อย่างน้อยที่สุด 32% ทำให้มันสามารถคงตัวอยู่ในรูปของไขได้ดีกว่าชนิดเคลือบ ปกติแล้วจะใช้เฉพาะในร้านที่ทำขนมหวานเท่านั้น ส่วนใหญ่จะพบอยู่ในรูปของส่วนที่เคลือบอยู่ภายนอกผลไม้หรือหุ้มไส้ช็อกโกแลตอยู่

กานาช

ช็อกโกแลตชนิดนี้จะมีลักษณะข้นมาก เป็นที่นิยมนำไปทำเค้กช็อกโกแลต กานาชทำโดยการเทวิปปิงครีมที่นำไปอุ่นลงไปในช็อกโกแลตสับในปริมาณที่เท่ากัน ทิ้งไว้สักครู่จนช็อกโกแลตเริ่มละลายและคนให้เข้ากัน จะได้ส่วนผสมที่ข้นขึ้น อาจเติมเนยในปริมาณเล็กน้อยเพื่อเพิ่มความเงาให้กับกานาชด้วย

Confectionery Coating

เป็นช็อกโกแลตที่ใช้เคลือบลูกกวาด โดยนำไปผสมกับน้ำตาล นมผง น้ำมันพืช และสารปรุงแต่งรสชาติต่าง ๆ มีสีสันหลากหลาย ลูกกวาดที่ได้นี้ผงโกโก้จะมีไขมันต่ำ แต่จะไม่มีส่วนผสมของเนยโกโก้ เหมือนชนิดอื่น ๆ จึงแยกออกมาเป็นอีกประเภทหนึ่งได้

ประโยชน์ของช็อกโกแลต

ช็อกโกแลตเป็นอาหารที่มีสารเคมีที่ส่งผลต่อระบบประสาท เล่ากันว่า นักรักชื่อกระฉ่อนโลกอย่างจิอาโคโม คาสซาโนวา (1725-1795) กินช็อกโกแลตก่อนขึ้นเตียงกับผู้หญิงที่หลงเสน่ห์ ด้วยช็อกโกแลตขึ้นชื่อว่าเป็นอาหารกระตุ้นอารมณ์ใคร่[ต้องการอ้างอิง] และผู้หญิงร้อยละ 50 สารภาพว่ากินช็อกโกแลตก่อนเมคเลิฟ[ต้องการอ้างอิง]

มีงานวิจัยที่ศึกษากับเพศชายจำนวน 8000 คนที่สำเร็จการศึกษาจากฮาร์วาร์ด พบว่า คนที่รับประทานช็อกโกแลตเป็นประจำมีอายุยืนกว่าคนที่ไม่เคยรับประทานช็อกโกแลต[ต้องการอ้างอิง] สาเหตุที่กินช็อกโกแลตแล้วอายุยืนอาจเกี่ยวข้องกับ สารโพลีฟีนอลที่มีอยู่จำนวนมากในช็อกโกแลต โพลีฟีนอลเป็นสารที่ช่วยลดอนุมูลอิสระของไลโปโปรตีนความแน่นต่ำ และช่วยป้องกันโรคหัวใจ แต่ความเชื่อดังกล่าวยังเป็นเรื่องถกเถียงกันอยู่

นักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองเปรียบเทียบกลุ่มที่รับประทานช็อกโกแลตเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ให้รับประทานช็อกโกแลตเทียม เพื่อทดสอบความจำพบว่า กลุ่มที่กินช็อกโกแลตสามารถจดจำคำพูดและภาพได้ดีกว่า และยังเคลื่อนไหวตอบสนองได้คล่องแคล่วกว่า ปัจจุบันนักวิจัยกำลังทดลองซ้ำเพื่อเปรียบเทียบผลอยู่[ต้องการอ้างอิง]

การทดลองเหล่านั้นสอดคล้องกับชีวิตของคนที่มีอายุเกินร้อยปีหลายคน ยกตัวอย่าง ฌอง คลามงต์ (1875-1997) และ ซาร่าห์ เคลาส์ (1880-1999) ทั้งสองคลั่งไคล้ช็อกโกแลตมาก คลามงต์ มีนิสัยติดกินช็อกโกแลตอาทิตย์ละสองปอนด์จนกระทั่งแพทย์ต้องแนะนำให้เธอเลิกกินเมื่ออายุได้ 119 ปี สามปีก่อนที่เธอจะลาโลกไปด้วยอายุ 122 ปี ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุยืนมักแนะนำให้กินช็อกโกแลตดำแทนขนมหวานมีแคลอรีสูงและนิยมกันมากในอเมริกา

ในอังกฤษ ช็อกโกแลตแท่งสอดใส้คานาบิสนิยมใช้กับผู้ป่วยโรค multiple sclerosis หรือโรคปลอกหุ้มเส้นประสาทอักเสบ หรือเอ็มเอส เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดกับระบบประสาทส่วนกลางแบบฉับพลัน โรคดังกล่าวมีพัฒนาการอย่างช้าๆ ส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางสายตา การพูด เมื่อรักษาเฉพาะอาการแล้วอาจเกิดขึ้นอีกได้ และร้ายแรงถึงขั้นอัมพาต ตาบอด และเสียชีวิต [ต้องการอ้างอิง]

ในช็อกโกแลตมีส่วนประกอบมากกว่า 300 ชนิดที่ต่างกัน เช่นอนันดาไมด์ และเอ็นโดจีนัส คานาบินอยด์ที่พบได้ในระบบประสาท คนที่ไม่เชื่อแย้งว่า หากกินช็อกโกแลตให้ออกฤทธิ์ต่อประสาทได้จริงคงต้องกินกันทีละหลายปอนด์มากถึงเห็นผล และกินมากๆ ยังเสี่ยงเป็นนิ่วด้วย ถึงกระนั้น มีข้อมูลน่าสนใจอยู่อย่างหนึ่งคือ สารสองชนิดของอนันดาไมด์พบอยู่ในช็อกโกแลต ซึ่งเชื่อกันว่ามีผลช่วยยืดความรู้สึกสุขสบายให้ยาวนาน

ช็อกโกแลตยังมีกาเฟอีน แต่ไม่มากนักและยังสามารถหาได้จากแหล่งอื่นที่มีมากกว่า ยิ่งไปกว่านั้น ช็อกโกแลตนมมีกาเฟอีนน้อยกว่าดื่มกาแฟชนิดกาเฟอีนต่ำเสียด้วยซ้ำ นอกจากนี้ ช็อกโกแลตมีสารทริพโทฟาน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนสำคัญ ทำหน้าที่ควบคุมเซโรโทนิน สารสื่อประสาทที่ควบคุมอารมณ์ เมื่อร่างกายขับเซโรโทนินออกมาช่วยให้ผ่อนคลายความวิตกกังวลได้

ช็อกโกแลตช่วยกระตุ้นการหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน สารที่คล้ายกับที่ได้จากฝิ่นที่ผลิตขึ้นเองในร่างกาย เมื่อร่างกายหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินจะช่วยลดความเจ็บปวดได้ บางครั้งเชื่อว่า เอ็นดอร์ฟินมีส่วนช่วยให้ร่างกายอบอุ่นและสงสัยกันว่าเป็นตัวที่ทำให้คนบางคนถึงขนาดติดช็อกโกแลตงอมแงม

cd:http://th.wikipedia.org/wiki/ช็อกโกแลต

กำแพงเมืองจีน

            กำแพงเมืองจีน (จีนตัวเต็ม: 長城; จีนตัวย่อ: 长城; พินอิน: Chángchéng ฉางเฉิงอังกฤษ: Great Wall of China) เป็นกำแพงที่มีป้อมคั่นเป็นช่วง ๆ ของจีนสมัยโบราณ กำแพงส่วนใหญ่ที่ปรากฏในปัจจุบันสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ฉิน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการรุกรานจากพวกฮันส์ หรือชนเผ่า ซยงหนู (Xiongnu) คำว่า ซยงหนู บางทีก็สะกดว่า ซุงหนู หรือ ซวงหนู ที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากับอารยธรรมจีนในยุคต้นๆ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจว (ราว 400 ปีก่อนคริสตกาล) เนื่องจากจะเข้ามารุกรานจีนตามแนวชายแดนทางเหนือ ในสมัยราชวงค์ฉิน ได้สั่งให้สร้างกำแพงหมื่นลี้ตามชายแดน เพื่อป้องกันพวก ซยงหนู เข้ามารุกราน และพวกเติร์กจากทางเหนือ หลังจากนั้นยังมีการสร้างกำแพงต่ออีกหลายครั้งด้วยกัน แต่ภายหลังก็มีเผ่าเร่ร่อนจากมองโกเลียและแมนจูเรียสามารถบุกฝ่ากำแพงเมืองจีนได้สำเร็จ

กำแพงเมืองจีนยังคงเรียกว่า กำแพงหมื่นลี้ (จีนตัวเต็ม: 萬里長城; จีนตัวย่อ: 万里长城; พินอิน: Wànlĭ Chángchéng ว่านหลี่ฉางเฉิง) สำนักงานมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติจีน ประกาศเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2555 ว่า นักโบราณคดี ได้ตรวจวัดความยาวของสิ่งก่อสร้างจากน้ำมือมนุษย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก หรือ “กำแพงเมืองจีน” อย่างเป็นทางการนานร่วม 5 ปี ตั้งแต่ 2008-2012 และพบว่ายาวกว่าที่บันทึกไว้เดิมกว่า 2 เท่า หรือ 21,196.18 กิโลเมตร จากเดิม 8,850 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 15 มณฑลทั่วประเทศ [1] และนับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลางด้วย มีความเชื่อกันว่า หากมองเมืองจีนจากอวกาศจะสามารถเห็นกำแพงเมืองจีนได้ ซึ่งในความเป็นจริงไม่สามารถมองเห็นจากอวกาศได้[2

GreatWall 2004 Summer 2.jpg

                                                     

ประวัติ

กำแพงเมืองจีนสร้างเมื่อกว่า 2,500 ปีมาแล้ว ตั้งแต่ก่อนสมัยของจิ๋นซีฮ่องเต้ จักรพรรดิองค์แรกในประวัติศาสตร์จีน จุดประสงค์ก็เพื่อป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าทางตอนเหนือ โดยมีการก่อสร้างเพิ่มเติมโดยฮ่องเต้องค์ต่อมาอีกหลายพระองค์ จนสำเร็จในที่สุด กำแพงเมืองจีนถือเป็นงานก่อสร้างที่มหัศจรรย์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเท่าที่เคยมีมา

มีข้อเท็จจริงบางประการเกี่ยวกับกำแพงเมืองจีนดังนี้

1. เราไม่สามารถมองเห็นกำแพงเมืองจีนจากดวงจันทร์ ไม่มีสิ่งก่อสร้างที่สร้างโดยมนุษย์ แม้แต่อย่างเดียวที่สามารถมองเห็นจากดวงจันทร์ ในระดับ low earth orbit เราสามารถมองเห็นกำแพงเมืองจีนโดยใช้ radar การมองเห็นกำแพงเมืองจีนเป็นไปได้ยากเนื่องจาก สีของกำแพงเมืองจีนจะกลืนไปกับสีของธรรมชาติ ก็คือสีของดิน หิน

2. กำแพงเมืองจีนไม่ใช่กำแพงยาวตลอด ความจริงแล้วกำแพงเมืองจีน ถูกสร้างขึ้นในหลายยุคหลายสมัยกินเวลานับพันปี โดยเป็นการเชื่อมต่อกำแพงแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน จนเป็นแนวทอดยาวหลายพันกิโลเมตร

3. กำแพงเมืองจีนเป็นเสมือนสุสานของผู้ก่อสร้าง มีการบันทึกไว้ว่า นักโทษจากสงครามและทาสกว่า 1 ล้านคนถูกใช้เป็นแรงงงานเพื่อก่อสร้างกำแพงเมืองจีน ซึ่งจำนวนมากเสียชีวิตลงเนื่องจากความเหน็ดเหนื่อย และความหิวโหย ซึ่งศพผู้เสียชีวิตก็จะถูกฝังอยู่ข้างใต้กำแพงนั่นเอง นานนับศตวรรษแล้ว ที่กำแพงเมืองจีนได้ชื่อว่าเป็นสุสานที่มีความยาวที่สุดในโลก เป็นที่กล่าวขานกันว่าทุกๆ หนึ่งฟุตของกำแพงเมืองจีนก็คือหนึ่งชีวิตของผู้ก่อสร้างกำแพง

4. ความยาวของกำแพงเมืองจีน จนถึงขณะนี้ยังไม่มีใครทราบความยาวที่แท้จริงของกำแพงเมืองจีน ในภาษาจีน จะเรียกกำแพงเมืองจีนว่า “กำแพงยาวหมื่นลี้” (หนึ่งลี้มีความยาวประมาณ 1/3 ไมล์) โดยคร่าวๆ กำแพงเมืองจีนมีความยาวประมาณ 4 พันไมล์ หรือ 6,350 กิโลเมตร ทอดผ่านทุ่งหญ้า ทะเลทราย และเทือกเขาสูง ความสูงของกำแพงคือ 7 เมตร และกว้าง 5 เมตร

5. การก่อสร้างกำแพงเมืองจีน ช่วยป้องกันการรุกรานได้หรือไม่ การเข้าครองอำนาจของมองโกล และแมนจู ทั้งสองครั้งเกิดขึ้นจากความอ่อนแอ ของราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีนในขณะนั้นๆ พวกเขาใช้โอกาสในขณะที่เกิดกบฏภายใน เข้ายึดครองประเทศจีน โดยมีการต่อต้านที่น้อยมาก

6. กำแพงเมืองจีนไม่ได้เป็นแค่กำแพง ทุกๆ 300 ถึง 500 หลา จะมีฐานบัญชาการเพื่อใช้สับเปลี่ยนเวรยามและใช้เป็นจุดสังเกตการณ์ มีหอสังเกตการณ์กว่า 1 หมื่นแห่ง

7. กำแพงเมืองจีนเป็นเส้นทางคมนาคม ในระยะแรก ประโยชน์ของกำแพงเมืองจีนก็คือ มันช่วยให้การคมนาคมและขนส่งในเส้นทางทุรกันดาร เช่นตามเทือกเขาเป็นไปอย่างสะดวกยิ่งขึ้น

8. กำแพงเมืองจีนสร้างขึ้นโดยใช้อะไรเป็นส่วนประกอบ ก่อนที่จะมีการใช้อิฐในการก่อสร้าง กำแพงเมืองจีนถูกสร้างขึ้น โดยใช้หิน ดิน และไม้ บางครั้งมีการแพ็คดินไว้ระหว่างไม้แผ่นใหญ่ และมัดไว้ด้วยกันโดยเสื่อทอ บริเวณใกล้กรุงปักกิ่ง กำแพงเมืองจีนถูกสร้างโดยใช้หินอ่อน ในบางสถานที่กำแพงถูกสร้างโดยใช้หินแกรนิต บางแห่งก็ใช้ดินเผา ทางตะวันตกของจีน กำแพงถูกสร้างโดยใช้โคลน ทำให้ชำรุดได้ง่ายกว่า กำแพงเมืองจีนที่เราเห็นกันทุกวันนี้ ส่วนใหญ่ถูกสร้างในราชวงศ์หมิง โดยใช้วัตถุที่ทนทานกว่าเช่นหิน

9. สภาพของกำแพงเมืองจีนในขณะนี้ รายงานผลการสำรวจของนักอนุรักษ์เมื่อปี 2004 กล่าวว่า ขณะนี้ กำแพงเมืองจีนที่ยาว 6,350 กิโลเมตร เหลือให้เห็นเพียง 1/3 เท่านั้น และกำลังสั้นลงเรื่อยๆ ปัญหาเกิดขึ้นเนื่องจากการขาดการดูแลและอนุรักษ์ โดยเฉพาะจากชาวไร่ชาวนาซึ่งอาศัยอยู่ใกล้กำแพงเมืองจีน ไม่สนใจประกาศของรัฐบาลที่กำหนดให้กำแพงเมืองจีนเป็นสมบัติของชาติ

cd:http://th.wikipedia.org/wiki/กำแพงเมืองจีน

อนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ

Statueliberty.JPG

อนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ หรือ เทพีเสรีภาพ เป็นอนุสาวรีย์ที่ยิ่งใหญ่ และมีคุณค่าทางจิตใจ ในภาษาอังกฤษ เรียกว่า Statue of Liberty แต่เดิมชื่อว่า Liberty Enlightening the World ตั้งอยู่ ณ เกาะลิเบอร์ตี อ่าวนิวยอร์ก ที่นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นของขวัญที่ชาวฝรั่งเศสมอบให้แก่ชาวอเมริกัน ในวันที่อเมริกาเฉลิมฉลองวันชาติครบ 100 ปี ณ วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2419 โดยส่งมอบอย่างเป็นทางการ โดยมี ประธานาธิบดีโกรเวอร์ คลีฟแลนด์ ในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2429

เทพีเสรีภาพ เป็นประติมากรรมโลหะสำริด รูปเทพีห่มเสื้อคลุม มือขวาชูคบเพลิง มือซ้ายถือถือแผ่นจารึกคำประกาศอิสรภาพของสหรัฐฯ และมีอักษรสลักว่า “JULY IV MDCCLXXVI” หรือ วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2319(ค.ศ. 1776) เท้าข้างหนึ่งมีโซ่ที่ขาด แสดงถึงความหลุดพ้นจากการเป็นทาส สวมมงกุฎ 7 แฉกซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของทะเลทั้งเจ็ด หรือทวีปทั้งเจ็ด ภายในมีบันไดวนรวมทั้งสิ้น 162 ขั้น เกิดขึ้นตามแนวคิดของเอดูอาร์ด เดอ ลาบูลาเย นักประวัติศาสตร์ ชาวฝรั่งเศส เพื่อระลึกถึงความสัมพันธ์ของสหรัฐอเมริกา และ ฝรั่งเศส ระหว่างการปฏิวัติอเมริกัน ออกแบบโดยเฟรเดรีค โอกุสต์ บาร์โทลดี โครงร่างเหล็กออกแบบโดย เออแชน วียอเลต์-เลอ-ดุค และกุสตาฟ ไอเฟล ซึ่งเป็นผู้ออกแบบหอไอเฟล ในกรุงปารีส ส่วนฐานอนุสาวรีย์ สร้างโดยสหรัฐอเมริกา จารึกโคลงซอนเนต์ของกวีชาวอเมริกัน เอมมา ลาซารัส ซึ่งมีเนื้อหาต้อนรับผู้อพยพที่เข้าอยู่มาในอเมริกา

สาเหตุที่ทำให้ชาวฝรั่งเศสมอบเทพีเสรีภาพให้แก่สหรัฐอเมริกา เพราะว่า พวกเขาชื่นชมชาวอเมริกันที่หาญกล้าหาญ ที่ลุกขึ้นสู้กับสหราชอาณาจักร และประกาศอิสรภาพ จากสหราชอาณาจักรสำเร็จ เป็นชาติเอกราชในที่สุด ชาวฝรั่งเศส จึงรณรงค์หาเงินบริจาคจากทั่วประเทศ

ในการขนส่งจากฝรั่งเศส มายังสหรัฐอเมริกา เนื่องจากความใหญ่โตของอนุสาวรีย์ ทำให้ต้องแยกส่วนแล้วมาประกอบที่อเมริกา มีชิ้นส่วนรวมทั้งหมด 350 ชิ้น และนำมาประกอบขึ้นใหม่โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 4 เดือน แต่ส่วนฐาน พบว่ามีการสร้างเสร็จ ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2429 โดยหมุดตัวสุดท้ายถูกประกอบเสร็จ ในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2429

ปี พ.ศ. 2527 องค์การยูเนสโก ประกาศให้อนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ เป็นมรดกของโลก ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมไม่น้อยกว่า 800,000 คน

ตามปกติแล้ว ประชาชนสามารถขึ้นไปชมวิวบนส่วนหัวมงกุฎของเทพีได้ แต่หลังเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ทางการได้สั่งปิดอนุสาวรีย์ดังกล่าว ล่าสุด มีการเปิดให้นักท่องเที่ยว สามารถเดินทางไปที่เกาะ เพื่อชมความสวยงามของอนุสาวรีย์จากด้านล่างได้ แต่ยังตัวอนุสาวรีย์ยังปิดอยู่ รวมถึงพิพิธภัณฑ์ที่ส่วนฐานของอนุสาวรีย์ ด้วยเหตุผลทางด้านความปลอดภัย

ประวัติ

โครงการได้เริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2408 (ค.ศ. 1865) โดยประชาชนชาวฝรั่งเศสซึ่งประสงค์จะมอบของขวัญให้แก่ประชาชนชาวสหรัฐฯเพื่อเป็นเครื่องหมายเตือนความทรงจำรำลึกถึงสัมพันธภาพอันดีระหว่างสหรัฐฯและฝรั่งเศสในระหว่างสงครามประกาศอิสรภาพในสหรัฐอเมริกา

คณะกรรมการคณะหนึ่งมีนาย เอดดูวาด เดอลาบูลาเย เป็นประธานประติมากรหนุ่มชื่อ เฟรเดอริก ออกุสเต บาร์ทอลดิ (Frederic Bartholdi) ซึ่งเป็นกรรมการผู้หนึ่งได้เดินทางไปยังสหรัฐฯ เพื่อศึกษาความต้องการในการก่อสร้างอนุสรณ์สถานและบาร์ทอลดิเกิดความคิดที่จะสร้างของขวัญเป็นอนุสรณ์สถานแห่งเสรีภาพขึ้นโดยคณะกรรมการฟรองโกอเมริกันจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ฝ่ายอเมริกันรับผิดชอบส่วนที่เป็นรากฐาน และได้วางแผนจะขอรับบริจาคเงินค่าใช้จ่ายจากเอกชนประมาณสองแสนห้าหมื่นอเมริกันดอลลาร์ (คิดเป็นเงินไทยประมาณห้าล้านบาทในขณะนั้น)

บาร์ทอลดิ เริ่มงานก่อสร้างอนุสรณ์สถานแห่งเสรีภาพขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2417 (ค.ศ.1874) โดยใช้มารดาของเขาเป็นนางแบบ เริ่มแรกทำรูปจำลองด้วยปูนปลาสเตอร์สูง 9 ฟุต 1 รูป และสูง 36 ฟุต อีก 1 รูป ในที่สุดก็สามารถกำหนดสัดส่วนของเทพีแห่งเสรีภาพได้ แล้วก่อสร้างขึ้นด้วยโลหะผสมทองแดงกับเหล็กเพื่อความแข็งแกร่ง การวางแผนดำเนินการโครงการนี้ อยู่ในความอำนวยการของนายกุสตาฟไอเฟล ซึ่งเป็นวิศวกรชาวฝรั่งเศสผู้ก่อสร้างหอไอเฟล ในการนี้ต้องตีแผ่นทองแดงมากกว่า 300 แผ่น น้ำหนักรวม 90 ตัน

ภาพจาก Harper’s Weekly ฉบับวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2428 (ค.ศ. 1885)

ในขณะเดียวกัน ฝ่ายอเมริกันก็เริ่มงานสร้างฐานไปพร้อมกันโดยได้เลือกสถานที่ประดิษฐานอนุสาวรีย์นี้ที่เกาะเบดโล ซึ่งชื่อเกาะนี้ตั้งตามชื่อของเจ้าของดั้งเดิมคือ ไอแซค เบดโล และได้เริ่มงานสร้างรากฐานเมื่อ พ.ศ. 2424 (ค.ศ. 1881)

เมื่องานก่อสร้างเริ่มขึ้นแล้ว โครงการต้องหยุดชะงักไประยะหนึ่ง เพราะขาดเงินสนับสนุน แต่ต่อมา นายโจเซฟ ฟูลิตเซอร์บรรณาธิการผู้มีชื่อเสียงของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กเวิลด์ ได้รณรงค์หาทุนให้โดยขอรับบริจาคจากมหาชนใน พ.ศ. 2428 (ค.ศ.1885) ทำให้งานก่อสร้างรากฐานสำเร็จลุล่วงในปลายปีเดียวกันนั้น

ส่วนของอนุสรณ์สถานที่เป็นรูปเทพีได้เดินทางมาถึงนครนิวยอร์กเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2428 (ค.ศ.1885) โดยจัดเป็นชิ้นๆบรรจุในหีบใหญ่ถึง 214 หีบ เมื่อมาถึงแล้วจึงนำชิ้นส่วนมาต่อกันและติดตั้งเป็นรูปร่างที่บนป้อมเก่า อยู่ทางปลายสุดของเกาะลิเบอร์ตี้ Liberty เดิมชื่อเกาะเบดโล Bedloe รูปปั้นนี้หนัก 254 ตัน ออกแบบเป็นรูปสตรีสวมเสื้อผ้าคลุมร่างตั้งแต่ไหล่ลงมาจรดปลายเท้า ท่วงท่าสง่างาม ศีรษะสวมมงกุฎ มือขวาถือคบเพลิงชูเหนือศีรษะ มือซ้ายถือหนังสือคำประกาศอิสรภาพตั้งแต่เวลาเย็นจนถึงกลางคืน ไฟจากคบเพลิงของเทพีแห่งเสรีภาพนี้จะเปล่งแสงสว่างผู้ที่ไปเยือนเพียงยืนอยู่ที่ฐานของอนุสรณ์สถานก็จะรู้สึกได้ถึงความใหญ่โตมโหฬารของอนุสาวรีย์แห่งนี้

ที่อนุสรณ์สถานมีทางเดินจากป้อมเข้าสู่ส่วนที่เป็นแท่นฐาน และที่ทางเข้ามีแผ่นบรอนซ์จารึกข้อความเป็นคำประพันธ์ซอนเนท แต่งโดย เอมมา ลาซารัส เมื่อ พ.ศ. 2416 (ค.ศ.1883)

เมื่อเดินเข้าไปในตัวเทพี จะมีบันไดเลื่อนพาสูงขึ้นไป 10 ชั้นแรก หรือบันได 167 ขั้น ไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยขึ้นบันไดเวียน 12 ชั้น รวม 168 ขั้น ซึ่งจะขึ้นไปได้จนถึงศีรษะและมงกุฎของเทพีแห่งเสรีภาพ มีลานซึ่งจุคนได้ครั้งละ 20-30 คน จากลานนี้สามารถชื่นชมทิวทัศน์อันงดงามกว้างไกลของอ่าวนิวยอร์กตลอดไปทางเหนือ ซึ่งจะมองเห็นเมืองแมนฮัตตันและเขตธุรกิจการเงินและทิวทัศน์ทางใต้จะเห็นสะพานแคนเวอราซาโนด้วย

เทพีแห่งเสรีภาพนี้สูง 93.3 เมตร (306 ฟุต 8 นิ้ว) นับจากส่วนล่างถึงยอดคบไฟ เฉพาะตัวเทพีสูง 46.4 เมตร (152 ฟุต 2 นิ้ว) แขนขวายาว 12.8 เมตร (42 ฟุต) มือยาว 5.03 เมตร (16 ฟุต 5 นิ้ว) หนังสือในมือซ้ายของเทพีหนา 2 ฟุต ยาว 23 ฟุตครึ่ง จารึกว่า “July 4, 1776″ ตรงกับวันที่ 4 กรกฎาคม 2319 อันเป็นวันประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา ที่ปลายเท้าเทพีมีโซ่หักขาดชำรุด ซึ่งแสดงความหมายของการล้มล้างระบบทรราชลงได้

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2429 (ค.ศ.1886) ประธานาธิบดีโกรเวอร์ คลีฟแลนด์ ได้ประกอบพิธีเปิดอนุสรณ์สถานแห่งเสรีภาพ นายบาร์ทอลติ และ เฟอดินัน เดอ เลสเซน ซึ่งเป็นผู้สืบทอดงานจาก นายเอดดูวาร์ด เดอ ลาบูลาเย มาร่วมงานด้วย และในพิธีเปิดครั้งนั้นได้มีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นคือ ขณะที่วุฒิสมาชิกกำลังอ่านคำปราศัยได้มีการให้สัญญาณเปิดผ้าคลุมออกก่อนกำหนดเวลา มีการยิงปืนใหญ่ ชาวเรือในอ่าวต่างตะโกนกู่ก้อง และฝูงชนที่มาชุมนุมร่วมพิธีเปิดต่างก็โห่ร้องแสดงความยินดีกันอึงคะนึง ขณะที่ผ้าคลุมเทพีเปิดออกเรียบร้อยแล้ว ปรากฏว่าวุฒิสมาชิกยังคงอ่านคำปราศัยต่อไปจนจบ

cd:http:.wikipedia.orgอนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ

ยานอวกาศ

ยานอวกาศ คือพาหนะหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ทำงานในอวกาศเหนือผิวโลก ยานอวกาศนี้อาจเป็นได้ทั้งแบบมีคนบังคับหรือแบบไม่มีคนบังคับก็ได้ สำหรับภารกิจของยานอวกาศนี้จะมีทั้ง การสื่อสารทั่วไป, การสำรวจโลก, การทำเส้นทาง เป็นต้น บางทีคำว่ายานอวกาศนี้ยังใช้เรียกอธิบาย ดาวเทียม ได้ด้วยเช่นกัน

ภาพรวม

ระบบการทำงานของยานอวกาศประกอบไปด้วยระบบย่อยต่างๆมากมาย เช่นระบบกำหนดและควบคุมตัวยาน (Attitude Determination and Control: ADAC หรือ ACS), ระบบควบคุมการนำร่องและนำทาง (Guidance,Navigation and Control: GNC หรือ GN&C), ระบบการสื่อสาร (Communication: COMS), ระบบจัดการข้อมูลและคำสั่ง (Command and Data Handling: CDH หรือ C&DH), ระบบพลังงาน (EPS), ระบบควบคุมอุณหภูมิ (Thermal Control: TCS), ระบบการขับเคลื่อน (Propulsion), โครงสร้างและระบบบรรทุกสิ่งของ (Payload)

ถ้าหากว่าเป็นยานอวกาศประเภทใช้คนบังคับแล้วอาจจะต้องเพิ่มปัจจัยยังชีพต่างๆให้กับลูกเรือด้วย

ระบบย่อยต่างๆของยานอวกาศ

]ระบบกำหนดและควบคุมตัวยาน

ยานอวกาศต้องการระบบนี้เพื่อให้ทำงานในอวกาศได้โดยเกี่ยวข้องและตอบสนองกับปัจจัยภายนอกยาน ระบบนี้ประกอบไปด้วย เซ็นเซอร์ และตัวบังคับ ซึ่งทำงานร่วมกันโดยใช้โปรแกรมควบคุมอีกทีหนึ่ง ระบบกำหนดและควบคุมหลักๆ ใช้เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์การทำงานทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างเหมาะสม เช่น แผงรับแสงอาทิตย์จะหันไปทางดวงอาทิตย์อัตโนมัติ หรือ การหันหน้าไปทางโลกเมื่อมีการทำงานเกี่ยวกับการสื่อสาร เป็นต้น

]ระบบควบคุมการนำร่องและนำทาง

[แก้]ระบบการสื่อสาร

ระบบนี้เป็นส่วนที่เชื่อมต่อการสื่อสารข้อมูลต่างๆระหว่างยานอวกาศ กับพื้นโลก หรือระหว่างยานอวกาศกับยานอวกาศด้วยกันเอง

จรวด Proton Rocket นี้ถูกปล่อยเพื่อนำยานอวกาศหรือดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรของโลก

ระบบจัดการข้อมูลและคำสั่ง

คำสั่งต่างๆ ที่ได้รับมาจากระบบการสื่อสารจะถูกนำมาที่ระบบนี้ เพื่อทำการตรวจสอบความถูกต้อง,แปลความหมายของคำสั่ง และส่งคำสั่งเหล่านี้ไปยังระบบย่อยอื่นๆของยานอวกาศอื่นๆ ระบบนี้ยังใช้รวบรวมข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ ที่ได้จากระบบย่อยอื่นๆของยานอวกาศ ส่งกลับไปยังพื้นโลกผ่านทางระบบการสื่อสารอีกด้วย ส่วนหน้าที่อื่นๆ ของระบบนี้ เช่น คอยตรวจสอบดูแลสถานะของยานอวกาศ

]ระบบพลังงาน

การขับเคลื่อนตัวยานอวกาศจะเริ่มใช้พลังงานตั้งแต่ออกตัวจากพื้นโลก สู่ชั้นบรรยากาศ จนถึงการทำงานนอกโลก โดยระบบนี้มีหน้าที่ในการควบคุมดูแลระดับพลังงานให้เป็นไปอย่างเหมาะสมที่สุด และนำพลังงานบางส่วนกลับมาใช้ใหม่ด้วย (reusable)

]ระบบควบคุมอุณหภูมิ

ปกติแล้วยานอวกาศจะต้องมีการปรับแต่งให้สามารถคงอยู่ในสภาวะต่างๆได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นสภาวะที่ชั้นบรรยากาศของโลก หรือในอวกาศก็ตาม ยานอวกาศนี้ยังต้องทำงานในสภาวะสุญญากาศซะเป็นส่วนมากและต้องเผชิญกับอุณหภูมิหลายระดับขึ้นอยู่กับภารกิจ ซึ่งอาจจะเป็นการสำรวจพื้นผิวของดาวเคราะห์อื่นๆ ดังนั้น ระบบนี้จึงมีความจำเป็นต่อยานอวกาศมากที่จะคอยดูแลสภาวะอุณหภูมิของยานให้เป็นไปอย่างปกติตลอดการดำเนินงาน
ยานอวกาศอาจจะมีหรือไม่มีระบบการขับเคลื่อนนี้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับเชื้อเพลิง, ถังเก็บเชื้อเพลิง, ท่อเปิดปิด (valves), ท่อส่ง เปน

โครงสร้าง

สำหรับโครงสร้างของยานอวกาศนี้จะต้องมีการปรับแต่งให้คงทนต่อการบรรทุกของต่างๆ รวมถึงเครื่องมือของระบบต่างๆด้วย ซึ่งขึ้นอยู่กับภารกิจของยานอวกาศเองว่าจะกำหนดโครงสร้างอย่างไร

]ระบบบรรทุก

การบรรทุกอุปกรณ์สิ่งของต่างๆ นี้ก็ขึ้นอยู่กับภารกิจของยานอวกาศ โดยปกติแล้วยานจะบรรทุกพวก เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ (กล้อง,กล้องดูดาว หรือ เครื่องมือตรวจจับ), คลังสินค้า หรือมนุษย์อวกาศ

ไททานิก

                

 

ไททานิกเป็นเรือที่เปิดศักราชใหม่ให้กับอุตสาหกรรมเรือเดินสมุทร เนื่องจากเป็นเรือลำแรกๆ ของโลกที่สร้างโดยโลหะและรองรับผู้โดยสารได้ถึง 2,435 คน ยาว 269.0622 เมตร กว้าง 28.194 เมตร ขนาดของเรือ 46,328 ตัน แบ่งเป็น 9 ชั้น เรียงจากชั้นบนลงชั้นล่างได้ดังนี้

9. ดาดฟ้า สงวนไว้ให้ผู้โดยสารชั้นหนึ่งและชั้นสอง มีปล่องไฟ 4 ตัว สูงตัวละ 19 เมตร และห้องยิมเนเซียม

8. ชั้น A ห้องนั่งเล่น ห้องสมุด ห้องสูบบุหรี่ คาเฟ่ขนาดเล็ก และเนิร์สเซอรี่ของผู้โดยสารชั้นหนึ่ง

7. ชั้น B ห้องอาหาร a la carte ร้านกาแฟแบบปารีสของผู้โดยสารชั้นหนึ่ง และห้องสูบบุหรี่ผู้โดยสารชั้นสอง

6. ชั้น C ห้องสมุดของผู้โดยสารชั้นสอง ห้องเอนกประสงค์ของผู้โดยสารชั้นสาม

5. ชั้น D ห้องอาหารของผู้โดยสารชั้นหนึ่งและชั้นสอง

4. ชั้น E ห้องนอนของผู้โดยสารชั้นหนึ่ง สอง สาม ลูกเรือ

3. ชั้น F ห้องอาหารของผู้โดยสารชั้นสาม

2. ชั้น G สระว่ายน้ำ ห้องอาบน้ำแบบตุรกี และห้องเก็บกระเป๋าเดินทาง

1. ชั้นห้องเครื่อง มี 16 ห้อง หม้อน้ำรวม 29 ชุด ส่งเชื้อเพลิงให้เครื่องยนต์ 3 ตัว เครื่องยนต์ 3 ตัว หมุนใบจักร 3 ใบ รวม 50000 แรงม้า เร่งความเร็วเรือได้สูงสุด 23 น็อต (42.596 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ความเร็วมาตรฐาน 21 น็อต (38.892 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ห้องเครื่องทั้ง 16 ห้องมีกำแพงสูงถึงชั้น F และมีประตูกลซึ่งจะปิดลงมาทุกบานทั่วลำเรือเมื่อพบเหตุผิดปกติที่ห้องเครื่องใดห้องเครื่องหนึ่ง ซึ่งถ้าหากไม่เกิดรอยรั่วในหลายห้องเครื่องจนเกินไป ตามหลักการลอยตัวแล้ว เรือจะไม่จม ถึงแม้จะเป็นจุดอ่อนที่สุดของเรือซึ่งก็คือหัวเรือ ก็ยังรับรอยแตกได้ถึง 4 ห้องเครื่องติดกันโดยไม่จม

ไททานิก มีลิฟต์ 4 ตัว ในจำนวนนี้ 3 ตัว ถูกสงวนมีไว้สำหรับผู้โดยสารชั้นหนึ่ง อีก 1 ตัว มีไว้สำหรับผู้โดยสารชั้นสอง ส่วนผู้โดยสาร ชั้นสามไม่มีสิทธิ์ใช้ลิฟต์!

ในการบรรจุผู้โดยสาร โดยปกติ เรือไททานิก สามารถจุผู้โดยสารได้ 2,435 คน โดยแบ่งเป็น ชั้นสาม 1,026 คน , ชั้นสอง 674 คน และชั้นหนึ่ง 735 คน และลูกเรีออีก 892 คน รวมผู้โดยสารและลูกเรือ 3,327 คน แต่ถ้าในอนาคต ถ้าสายการเดินเรือต้องการเพิ่มความจุผู้คน จะสามารถดัดแปลงเรือให้จุผู้โดยสารและลูกเรือได้มากขึ้นอีก 220 คน เป็น 3,547 คน (แต่ยังไม่ได้รับการดัดแปลง) แต่ในการเดินทางเที่ยวแรก มีผู้โดยสารประมาณ 2,208 คน

แต่ว่าเรือสำรองช่วยชีวิตหรือเรือบดนั้นเพียงพอสำหรับผู้โดยสารเพียง 1,178 คนเท่านั้น โดยจะแบ่งเป็น 20 ลำ ในจำนวนนี้ 14 ลำ จุได้ 65 คน , 4 ลำ จุได้ 47 คน และอีก 2 ลำ จุได้ 40 คน

การเดินทางครั้งแรก เริ่มการเดินทางที่เมืองเซาท์แธมตัน ประเทศอังกฤษ (Southampton, England) ในวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1912 ควบคุมโดยกัปตัน เอ็ดเวิร์ด เจ. สมิธ (Edward J. Smith) เพื่อเดินทางไปยังนิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา ในการเดินทางครั้งนั้น มีผู้เดินทางรวมทั้งหมด 2,208 คน แบ่งเป็นลูกเรือ 891 คน , ผู้โดยสารชั้นสาม 708 คน , ผู้โดยสารชั้นสอง 285 คน และผู้โดยสารชั้นหนึ่ง 324 คน

 

ออกเดินทางเที่ยวแรก

วันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1911

เรือไททานิกถูกปล่อยลงน้ำเป็นครั้งแรก โดยใช้เวลาเพียง 62 วินาทีเรือก็ลงสู่น้ำเป็นที่เรียบร้อย ไททานิกที่ต่อเสร็จแล้วได้กลายเป็นพาหนะที่ใหญ่ที่สุดในโลกในยุคนั้น มีความยาว 268 เมตร กว้าง 28 เมตร และความสูงวัดจากท้องเรือถึงสะพานเดินเรือ (สะพานเดินเรือหมายถึงห้องควบคุมเรือที่อยู่บนดาดฟ้า) 30 เมตร พิธีปล่อยเรือถูกจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่และมีผู้เข้าชมถึง 100,000 คน

หลังจากใช้เวลาตกแต่งหลายเดือน ในที่สุด ไททานิกก็กลายเป็นเรือเดินสมุทรสุดหรูหรา ไททานิกมีระวาง 46,300 ตัน[1] ใหญ่กว่าเรือโอลิมปิก 1,000 ตัน บรรทุกผู้โดยสารและลูกเรือได้เต็มที่ถึง 3,547 คน มีเครื่องยนต์ที่มีพลังแรงถึง 46,000 แรงม้า (เปรียบเทียบกับรถยนต์นั่งขนาดกระบอกสูบ 2,000 ซีซี. มีกำลังราว 130-140 แรงม้า) ทุ่มค่าก่อสร้างไปถึง 7,500,000 ดอลลาร์และค่าตกแต่งอีก 2,500,000 ดอลลาร์ รวมเป็น 10 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถ้าคิดเทียบเป็นค่าของเงินในปัจจุบันจะเป็นมูลค่าถึง 400 ล้านดอลลาร์ (ราวสองหมื่นล้านบาท) ทีเดียว

วันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1912

เรือไททานิก, เรือ อาร์เอ็มเอส โอเชียนิก (ค.ศ. 1899) (RMS Oceanic) และ เรือ เอสเอส นิวยอร์ก (SS City of New York)

สายการเดินเรือไวต์สตาร์จัดการเดินทางรอบปฐมฤกษ์ของเรือไททานิกในวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1912 โดยเดินทางจากท่าเรือเซาแทมป์ตันของอังกฤษไปยังเมืองนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ในการเดินทางรอบปฐมฤกษ์นี้เป็นแผนการประชาสัมพันธ์เรือไททานิกด้วย ดังนั้นจึงมีบุคคลสำคัญและบุคคลในวงสังคมชั้นสูงทั้งของอังกฤษ ยุโรป และสหรัฐอเมริการ่วมเดินทางไปด้วยเป็นจำนวนมาก รวมทั้ง เจ. พี มอร์แกน เจ้าของไวต์สตาร์ เจ. บรูซ อิสเมย์ ผู้จัดการไวต์สตาร์ รวมทั้งยังมีทอมัส แอนดรูวส์ วิศวกรอาวุโสของอู่ต่อเรือฮาร์แลนด์และวูลฟฟ์ผู้ออกแบบและควบคุมการต่อเรือไททานิก แต่ต่อมามอร์แกนยกเลิกการเดินทางกะทันหันเนื่องจากล้มป่วย

กัปตันเรือไททานิกก็ไม่ใช่ใครอื่น กัปตันเอ็ดเวิร์ด จอห์น สมิธ นั่นเอง กัปตันสมิทเป็นกัปตันเรือที่เก่งกาจและมีค่าตัวแพงที่สุดในยุคนั้น การเดินทางในเที่ยวนี้จะเป็นเที่ยวสั่งลาในอาชีพกัปตันเรือเพราะหลังจากนั้นกัปตันสมิทก็จะเกษียณแล้ว

แม้ไททานิกจะถูกออกแบบมาให้เป็นเรือที่ใช้ในได้ในทุกฤดูกาลของปี แต่การเดินทางในช่วงนี้ก็ต้องระวังเป็นพิเศษเพราะธารน้ำแข็งแถบกรีนแลนด์จะละลายและก่อให้เกิดภูเขาน้ำแข็งเคลื่อนตัวลงมาในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนเหนือและลอยตามกระแสน้ำในมหาสมุทรลงมาทางใต้

เรือไททานิกออกเดินทางเที่ยวปฐมฤกษ์จากท่าเรือเซาแทมป์ตันในอังกฤษโดยมีจุดหมายปลายทางคือเมืองนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ผู้โดยสารในเที่ยวนั้นประกอบด้วยบุคคลชั้นสูงในวงสังคมของอังกฤษ ยุโรป และสหรัฐอเมริกาจำนวนมาก

ในเช้าวันเดินทาง ตามกฎการเดินเรือ เจ้าหน้าที่ประจำเรือจะต้องมีการฝึกซ้อมการใช้เรือชูชีพในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน การฝึกซ้อมในเช้านั้นทำขึ้นพอเป็นพิธีเท่านั้น ดังนั้นจึงมีลูกเรือมาฝึกซ้อมเพียงไม่กี่นาย แต่เดิมไททานิกถูกออกแบบมาให้มีเรือชูชีพ 32 ลำ แต่ต่อมาถูกตัดออกเหลือเพียง 20 ลำซึ่งจุผู้โดยสารรวมกันได้เพียง 1,178 คนเท่านั้น เนื่องจากเห็นว่าเกะกะ อีกทั้งเห็นว่าจำนวนเพียงเท่านี้ก็เหลือเฟือแล้วตามกฎหมายการเดินเรือในยุคนั้นที่กำหนดจำนวนเรือชูชีพตามน้ำหนักเรือเป็นเกณฑ์โดยไม่คำนึงถึงจำนวนผู้โดยสาร ซึ่งในกรณีของไททานิก เรือชูชีพเพียงแค่ 962 ที่ก็เป็นการเพียงพอแล้วตามกฎหมาย

ครั้นเวลาเที่ยง เรือไททานิกก็ออกเดินทางจากท่าเรือเซาแทมป์ตัน เมื่อเรือเริ่มออกจากท่าก็หวุดหวิดจะเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากในช่วงนั้นเป็นช่วงที่พนักงานเหมืองถ่านหินทำการประท้วงและนัดหยุดงาน ส่งผลให้เรือหลายลำต้องจอดแช่อยู่ที่ท่าเรือเนื่องจากไม่มีถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงสำหรับการเดินทาง แต่เนื่องจากไวต์สตาร์เป็นสายการเดินเรือใหญ่ จึงมีถ่านหินตุนอยู่บ้างทำให้ไททานิกสามารถออกเดินทางได้

จากการที่ท่าเรือค่อนข้างคับคั่ง เมื่อไททานิกอันเป็นเรือขนาดใหญ่มหึมาออกจากท่า ผลจากการเคลื่อนตัวของเรือทำให้น้ำกระเพื่อมและเกิดแรงดูดอันมหาศาลดึงเรือที่อยู่ใกล้เคียงเข้าหาเรือไททานิก เรือ เอสเอส นิวยอร์ก (SS City of New York) ถูกกระแสน้ำดูดจนเกือบชนเรือไททานิกโดยห่างเพียงหนึ่งเมตรกว่าๆเท่านั้นเอง โชคดีที่เบนเรือออกทัน อุบัติเหตุในครั้งนี้ก็เป็นสาเหตุเดียวกับที่เรือโอลิมปิกเกิดอุบัติเหตุชนกันจนต้องซ่อมใหญ่ก่อนหน้านี้นั่นเอง

 

การอับปางของเรือ

วันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1912 ขณะเดินทางอยู่ทางใต้ของแกรนด์แบงค์ ของนิวฟันด์แลนด์ 22 นาฬิกา 45 นาที อุณหภูมิภายนอกเรือ ลดลงอย่างรวดเร็วจนเกือบถึงจุดเยือกแข็ง และน้ำทะเลรอบๆ ก็นิ่งลงจนแทบไม่มีคลื่นเลย เป็นสิ่งที่น่าประหลาดใจ แต่ก็ไม่มีใครในเรือที่รู้สึกถึงความผิดปกติ ผู้โดยสารที่อยู่บนดาดฟ้าก็กลับลงไปในเรือและใช้ชีวิตต่อตามปกติ

22 นาฬิกา 50 นาที ทะเลสงบไร้ระลอก มหาสมุทรเงียบสงัด คงมีแต่เสียงหัวเรือแหวกน้ำทะเล เรือเดินสมุทรแคลิฟอร์เนียนซึ่งอยู่ไม่ไกลนักได้ส่งข่าวเตือนภัยแก่ไททานิกว่าเรือแคลิฟอร์เนียนต้องหยุดเรือไม่สามารถเดินทางต่อไปได้เพราะถูกห้อมล้อมไปด้วยน้ำแข็ง

23 นาฬิกา 39 นาที เวรยามที่เสากระโดงแจ้งว่าได้พบภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่อยู่ข้างหน้าเรือ ลูกเรือจึงได้เลี้ยวลำเรือเพื่อหลบเลี่ยง แต่เนื่องจากใบจักรและหางเสือที่มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับขนาดของเรือ ทำให้ผู้บังคับเรือซึ่งยังไม่ชินกับการบังคับเรือใหญ่ขนาดนี้ทำให้ตัดสินใจผิดพลาด

23 นาฬิกา 40 นาที ไททานิกชนเข้ากับภูเขาน้ำแข็ง ที่ 41 องศา 46 ลิปดาเหนือ 50 องศา 14 ลิปดาตะวันตก

ไม่กี่นาทีต่อมาวิศวกรเดินลงไปตรวจดูความเสียหาย และรายงานมาว่า เรือได้ชนกับภูเขาน้ำแข็งทางกราบขวาด้านหัวเรือ ซึ่งเป็นจุดอ่อนทนรอยแตกได้ไม่อึดเท่าจุดอื่นๆ และห้องเครื่องส่วนหัว 5 ห้องเครื่องแรกก็เกิดรอยรั่ว ซึ่งวิศวกรบอกว่า หัวเรือเป็นจุดอ่อนที่สุดในเรือที่สามารถรับรอยแตกต่อเนื่องจากหัวเรือได้ 4 ห้อง ไม่ใช่ 5 ห้องดังที่เป็น ดังนั้น น้ำจะท่วมห้องเครื่องทั้งห้าสูงขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อท่วมมิดชั้นF เริ่มไหลขึ้นชั้นE น้ำก็จะล้นกำแพงกั้นน้ำเข้าท่วมห้องเครื่องที่ 6 และท่วมไปทีละห้องๆ และจมในที่สุด ดังนั้น เรือกำลังจะจม โดยหัวเรือจะจมลงไปก่อน โดยเรือเหลือเวลาไม่กี่ชั่วโมง

0 นาฬิกา 0 นาที ของวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1912 น้ำเริ่มท่วมส่วนที่เป็นห้องพักของผู้โดยสารชั้นสาม ทำให้เริ่มเกิดข่าวลือกันในเรือว่าเรือกำลังจะจม แต่ผู้โดยสารส่วนมากที่ได้ข่าวมักยังไม่เชื่อ เพราะก่อนหน้านี้เรือไททานิกถูกโปรโมตอย่างดิบดีว่าไม่มีวันจม

0 นาฬิกา 5 นาที กัปตันสั่งให้เตรียมเรือสำรองไว้ เตรียมอพยพผู้คนโดยด่วน , ไปบอกเจ้าหน้าที่วิทยุให้ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือออกไป และบอกพนักงานให้ไปปลุกผู้โดยสาร ให้ผู้โดยสารสวมเสื้อชูชีพ และทำร่างกายให้อุ่นๆ และไปที่ดาดฟ้า ทำให้ข่าวลือเรื่องเรือกำลังจะจมแพร่ไปทั่วเรือ แต่ส่วนใหญ่ยังไม่เชื่อ ส่วนใหญ่ยังนั่งกินเลี้ยง เล่นไพ่ ดื่มไวน์อย่างใจเย็น และเมื่อขึ้นไปที่ดาดฟ้า เจออากาศหนาวๆ ภายนอก ก็กลับเข้าไปข้างในอีก ในช่วงเวลานี้ ผู้โดยสารดูไม่ตื่นตัว และไม่รู้ว่าสิ่งที่พวกเขากำลังจะพบนั้นเลวร้ายเพียงใด[3]

ต่อมาราว 5-15 นาที เรือ อาร์เอ็มเอส คาร์พาเธีย (RMS Carpathia) ของสายการเดินเรือคูนาร์ด (Cunard Line) รับสัญญาณขอความช่วยเหลือของไททานิกได้ และตอบกลับ โดยบอกว่าเร่งเครื่องเต็มที่แล้ว และคาร์พาเธียจะไปถึงเรือไททานิกภายใน 4 ชั่วโมง แต่นั่นนานเกินไป วิศวกรบอกว่าเรือลอยอยู่ไม่ถึง 4 ชั่วโมงแน่ ดังนั้น ไททานิก จึงต้องพึ่งตนเอง

0 นาฬิกา 25 นาที เรือสำรองทุกลำพร้อมอพยพผู้โดยสาร กัปตันสั่งให้เริ่มอพยพโดยให้สตรีและเด็กลงเรือไปก่อน แต่ลูกเรือไม่รู้ว่าเรือสำรองจุผู้คนได้เท่าไร จึงปล่อยเรือบดออกทั้งๆที่ยังใส่คนไม่เต็มที่ ทำให้แทนที่เรือสำรองจะช่วยชีวิตได้ 1,178 คนตามที่มันถูกออกแบบ มันกลับรับผู้โดยสารมาเพียง 712 คนเท่านั้น

0 นาฬิกา 45 นาที เรือสำรองลำแรกถูกปล่อยลงมา และเมื่อผู้โดยสารได้รับข่าวการปล่อยเรือชูชีพ และเห็นเจ้าหน้าที่ต่างทำงานอย่างเคร่งเครียดเอาจริงเอาจัง ก็เริ่มเชื่อข่าวที่ลือกันในเรือว่า เรือกำลังจะจม

0 นาฬิกา 50 นาที พลุขอความช่วยเหลือเริ่มถูกยิงขึ้นฟ้า

1 นาฬิกาตรง ผู้โดยสารและลูกเรือส่วนใหญ่เชื่อแล้ว ว่าเรือที่พวกเขาอยู่นั้นกำลังจะจม ความวุ่นวายและตื่นตระหนกเริ่มเกิดขึ้น ลูกเรือที่ทำหน้าที่ปล่อยเรือสำรองเริ่มเจอแรงกดดันจากการที่ผู้โดยสารแย่งกันเป็นคนถัดไปที่จะได้ขึ้นเรือสำรอง เกิดเป็นความวุ่นวายเล็กๆ แต่ในขณะเดียวกัน ผู้โดยสารชายหลายท่าน แสดงความเป็นสุภาพบุรุษ โดยให้ภรรยาและลูกขึ้นเรือ แล้วตนเองถอยไป

1 นาฬิกา 15 นาที น้ำท่วมขึ้นมิดหัวเรือ และข่าวการที่น้ำท่วมมาจนมิดหัวเรือ ทำให้ผู้โดยสารเริ่มตื่นตระหนก เพราะเคยเห็นว่าหัวเรือนั้นสูงเพียงใด ดังนั้นผู้โดยสารและลูกเรือจึงตื่นตระหนกมากขึ้นเมื่อรู้ข่าว เพราะคิดว่า เรือจมเร็วกว่าที่คิด ทำให้ผู้โดยสารที่ไม่ใช่สุภาพบุรุษแย่งกันขึ้นเรือ ทำให้ความวุ่นวายทวีความรุนแรงขึ้น

1 นาฬิกา 25 นาที ความวุ่นวายทวีความรุนแรงขึ้นมาก เจ้าหน้าที่เริ่มใช้ปืนในการควบคุม เรือบดถูกเจ้าหน้าที่ปล่อยลงอย่างรีบร้อน เพราะความวุ่นวายจะทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งจะเป็นอุปสรรคสำคัญในการใส่คนลงไปในเรือ และในการปล่อยเรือสำรองลงไป ในขณะที่เรือเองก็จมลงเรื่อยๆ เหล่านักดนตรีได้แสดงสปิริตอย่างน่าชื่นชม พวกเขาพยายามเล่นดนตรีเพื่อผ่อนคลายความตื่นตระหนกของคนบนเรือตลอดเวลา เมื่อห้องโถงด้านหัวเรือจมต่ำลงก็ย้ายไปเล่นที่ดาดฟ้าด้านท้ายเรือ และบรรเลงไปจนนาทีสุดท้ายของชีวิต

1 นาฬิกา 45 นาที น้ำเริ่มเข้าท่วมบริเวณระเบียงด้านหัวเรือ ในขณะนี้ ชั้น A ด้านหัวเรือ เหลือความสูงจากผิวน้ำ 3 เมตร

1 นาฬิกา 55 นาที เรือสำรองทุกลำถูกปล่อยออกไปหมด เจ้าหน้าที่จึงเตรียมเรือสำรองแบบพับได้ และเริ่มลำเลียงผู้คนออกจากเรือต่อ

2 นาฬิกาตรง น้ำเริ่มไหลเข้าท่วมดาดฟ้าเรือบริเวณส่วนหัว ท่วมห้องบังคับการเรือ และเริ่มเข้าท่วมลึกเข้าไป

2 นาฬิกา 5 นาที เรือสำรองทุกลำถูกปล่อยออกไปจนหมด แต่ยังเหลือคนมากกว่า 1,500 คนบนเรือ และท้ายเรือเริ่มยกตัวขึ้น เห็นใบจักรขับเคลื่อนลอยขึ้นมาอย่างชัดเจน และยกขึ้นเรื่อยๆ และทางด้านหัวเรือ น้ำก็เข้าท่วมสูงมิดห้องบังคับการเรือ ท้ายเรือยกตัวขึ้นสูงขึ้นเรื่อยๆ เรือเอียงอย่างน่ากลัว ผู้โดยสารหวาดกลัว บางคนถึงกับโดดลงมาจากเรือเพื่อหวังจะว่ายไปขึ้นเรือชูชีพด้านล่าง แต่ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตก่อนจะว่ายไปถึง

เพราะในเวลานั้น เจ้าหน้าที่ที่อยู่บนเรือสำรอง ได้นำเรือสำรองทุกลำให้ออกห่างจากตัวเรือไททานิกให้ไกลที่สุด เพราะไททานิกที่กำลังจมอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้เกิดแรงดูดของน้ำบริเวณใกล้ลำเรือซึ่งอาจจะดูดเรือสำรองจมลงไป หรืออาจเกิดอันตรายอย่างอื่น ที่สามารถทำให้เรือสำรองจมได้ เหล่าเจ้าหน้าที่ พยายามนำเรือสำรองออกไปให้ไกลที่สุด และน้ำทะเลในบริเวณดังกล่าวเย็นเกือบเป็นน้ำแข็ง ดังนั้น ผู้ที่ตัดสินใจในการโดดมาจากเรือไททานิก แล้วคิดว่ายไปขึ้นเรือสำรอง ส่วนใหญ่จึงถูกน้ำที่เย็นยะเยือกทำให้แข็งตาย

2 นาฬิกา 18 นาที ระบบไฟฟ้าบนเรือหยุดทำงาน ไม่นานต่อมา เรือก็ขาดออกเป็นสองท่อน (จุดที่ฉีกขาดอยู่ระหว่างปล่องไฟปล่องที่ 3 กับปล่องที่ 4) แต่พื้นของชั้นล่างสุดยังไม่ขาดออกจากกัน การหักครั้งนี้ ทำให้ส่วนหัวเรือจมลงอย่างรวดเร็ว ดึงส่วนท้ายเรือขึ้นมา ส่งผลให้ส่วนท้ายเรือยกตั้งฉากกับพื้นน้ำ และเริ่มจมลงในแนวดิ่ง

2 นาฬิกา 20 นาที ของวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1912 เรือทั้งลำจมลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ผู้โดยสารจำนวนมากลอยคออยู่ด้วยเสื้อชูชีพ แต่น้ำทะเลในขณะนั้นเย็นจัดเกือบ 0 องศาเซลเซียส ผู้โดยสารและลูกเรือที่ขึ้นเรือสำรองไม่ทัน ถูกทิ้งให้ลอยคอบนน้ำที่เย็นยะเยือก ในขณะที่ทางเรือสำรองที่ลอยอยู่ด้านนอก ก็พยายามจะเข้าไปช่วย แต่ไม่ได้ เพราะหากผลีผลามเข้าไป คนที่ลอยคออยู่ในน้ำที่เย็นเยือกจะแย่งกันขึ้นเรือสำรอง เพื่อที่จะหลุดพ้นจากน้ำอันเย็นหนาว ซึ่งนั่นจะทำให้เรือสำรอง ถูกผู้ที่ลอยคออยู่รุมจนจมลงไปด้วย ดังนั้น จึงต้องรอ ปล่อยให้ผู้ที่ลอยคอหนาวตายไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเหลือผู้รอดน้อยพอที่จะเข้าไปช่วยเหลือได้โดยที่เรือสำรองจะไม่ถูกรุมจนจม

3 นาฬิกาตรง เสียงหวีดร้องขอความช่วยเหลือเงียบลง รวมเป็นเวลา 40 นาที ที่ผู้ที่ลอยคออยู่ตายไปจนเกือบหมด เจ้าหน้าที่จึงส่งเรือสำรองมาช่วย แต่ไม่ค่อยทันนัก ส่วนใหญ่ ตายหมดแล้ว เรือสำรองที่เข้าไปช่วยเหลือนั้น นำผู้โดยสารที่ยังไม่เสียชีวิตขึ้นมาได้เพียง 14 คนในสภาพหนาวสั่นทรมาน และในจำนวนนี้ 3 คนเสียชีวิต รวมแล้วเหลือผู้ที่รอดจากการถูกนำมาจากน้ำเย็นเฉียบเพียง 11 คน

4 นาฬิกา 10 นาที อาร์เอ็มเอส คาร์พาเธีย ได้เข้าไปช่วยเหลือผู้รอดชีวิตบนเรือสำรองทั้งหมด และพาสู่นิวยอร์กในวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1912 จากนั้น ได้มีการสรุปยอดและรายชื่อของผู้รอดและผู้เสียชีวิต ดังนี้

 

ผู้รอดชีวิต

หายนะภัยไททานิกครั้งนี้มีผู้รอดชีวิตทั้งสิ้น 710 คน แต่มีผู้เสียชีวิต 1,514 คน นับเป็นภัยพิบัติครั้งร้ายแรงครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเดินเรือ

อันที่จริงแล้ว ผู้ที่รอดชีวิตจากเรือไททานิกมิได้มีแต่เพียงผู้หญิงและเด็กเท่านั้น แต่ยังมีชายด้วย จากการสรุปข้อเท็จจริงพบว่าชายที่รอดชีวิตมีทั้งผู้โดยสารชั้น 1 ชั้น 2 ชั้น 3 และลูกเรือ

บุคคลที่รอดชีวิตบางคนที่น่ากล่าวถึงคือ เจ. บรูซ อิสเมย์ กรรมการผู้จัดการไวต์สตาร์ ผู้คนส่วนใหญ่ต่างสงสัยกันว่าอิสเมย์รอดมาได้อย่างไรทั้ง ๆ ที่ผู้ชายส่วนใหญ่เสียชีวิตหมดเนื่องจากสละที่นั่งให้แก่สตรีและเด็ก ชีวิตในช่วงหลังของอิสเมย์ต้องล้มละลายทางเกียรติยศเพราะสังคมตราหน้าว่าเขารอดมาได้เพราะแย่งที่ของสตรีและเด็ก

บางคนก็พูดกันว่าอิสเมย์พรางตัวเป็นหญิงเพื่อลงเรือ แต่อิสเมย์ชี้แจงว่าตนลงเรือชูชีพลำสุดท้าย เมื่อเห็นยังมีที่ว่างจึงได้ลงเรือไปและก็ไม่ได้พรางตัวเป็นสตรีแต่อย่างใด

                นางมอลลี บราวน์ (Molly Brown) ซึ่งเป็นพวกเศรษฐีใหม่ที่เดินทางไปกับเรือไททานิก เมื่ออยู่ในเรือ ชูชีพนางบราวน์ได้แสดงความเข้มแข็งและกล้าหาญ ในสภาพที่ทุกคนหมดเรี่ยวแรง เธอได้แสดงบทบาทผู้นำโดยให้สั่งคนในเรือช่วยกันพายเรือมุ่งไปยังเรือคาร์เพเทีย และพยายามช่วยคนที่ตกน้ำ หลังจากวิกฤตการณ์ครั้งนี้ ชีวิตของนางบราวน์ก็รุ่งเรืองขึ้น จากเดิมที่สังคมชั้นสูงในเมืองเดนเวอร์ไม่ยอมรับเธอ แต่จากวีรกรรมอันกล้าหาญทำให้เธอก้าวไปไกลถึงขนาดได้รับเสนอการชื่อให้เข้าชิงตำแหน่งวุฒิสมาชิกทีเดียว รวมทั้งยังมีผู้นำเรื่องราวของเธอไปสร้างเป็นภาพยนตร์ แต่อย่างไรก็ดี ในบั้นปลายของชีวิต เธอก็เปลี่ยนไปกลายเป็นคนที่ค่อนข้างเห็นแก่ตัว

เจ้าหน้าที่ของเรือไททานิกที่รอดชีวิตไม่มีใครเลยสักคนเดียวที่สามารถก้าวไปถึงตำแหน่งกัปตันเรือ

จากนั้น ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1985 ซากเรือไททานิกได้ถูกค้นพบอีกครั้ง

เมื่อต้นปี ค.ศ. 1997 นางเอดิท ไฮส์แมน ผู้ที่มีชีวิตรอดจากเรือไททานิกที่มีอายุมากที่สุดก็ได้เสียชีวิตลง เธออยู่ในเหตุการณ์เรือไททานิกเมื่ออายุ 15 ปีและเสียชีวิตลงเมื่ออายุได้ 100 ปี

และผู้ที่รอดชีวิตรายสุดท้ายจากเหตุการณ์เรือไททานิกอับปาง คือ มิลล์วินา ดีน (Millvina Dean) ชาวอังกฤษ ซึ่งเธอได้เสียชีวิตลงเมื่อ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2009 รวมอายุได้ 97 ปี ซึ่งในขณะเกิดเหตุ เธอมีอายุเพียง 9 สัปดาห์เท่านั้น

 

และในปีนี้ก็ครบรอบ100ปีของการออกเดินทางและอับปางลงของเรือไททานิก

cd:http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=20447

 

ดาวเคราะห์ (Planets)

ิ        ดาวเคราะห์ หมายถึง ดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง แต่สะท้อนแสงอาทิตย์ส่องเข้าไปตาเรา ดาวเคราะห์ แต่ละดวง มีขนาดและจำนวนดวงจันทร์บริวารไม่เท่ากัน อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็น ระยะทางต่างกัน และดวง ต่างก็อยู่ในระบบสุริยะ โดยหมุนรอบตัวเองโคจรรอบ ดวงอาทิตย์ด้วย ความเร็วต่างกันไป จากการศึกษา เรื่องราว เกี่ยวกับดาวเคราะห์โดยใช้โลกเป็นหลักในการแบ่ง

     

 ดาวเคราะห์ เป็นดาวที่ไม่มีแสงในตัวเอง ไม่เหมือนกับดวงอาทิตย์ หรือดาวฤกษ์ ซึ่งสามารถส่องสว่างด้วยตนเองได้ แต่เราสามารถมองเห็นดาวเคราะห์ได้ เนื่องจากการที่ดาวเคราะห์ สะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ เข้าสู่ตาของเรานั่นเองแม้ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาลของเรา จะมีถึง 8 ดวง (ไม่รวมโลก) แต่เราสามารถมองเห็นได้ ด้วยตาเปล่า เพียง 5 ดวงเท่านั้น คือ ดาวพุธ, ดาวศุกร์, ดาวอังคาร, ดาวพฤหัส และดาวเสาร์ เท่านั้น ซึ่งชาวโบราณเรียก ดาวเคราะห์ทั้งห้านี้ว่า “The Wandering Stars” หรือ “Planetes” ในภาษากรีก และเรียกดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ ทั้งสองดวงว่า “The Two Great Lights” ซึ่งเมื่อรวมกันทั้งหมด 7 ดวง จะเป็นที่มาของชื่อวัน ใน 1 สัปดาห์ นั่นเอง

ดาวเคราะห์ทั้ง 8 สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ ได้ดังนี้

1. แบ่งตามลักษณะทางกายภาพ

      - ดาวเคราะห์ชั้นใน (Inner or Terrestrial Planets): จะเป็นกลุ่มดาวเคราะห์ ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าอีกกลุ่ม เป็นดาวเคราะห์ที่เย็นตัวแล้วมากกว่า ทำให้มีผิวนอกเป็นของแข็ง เหมือนผิวโลกของเรา จึงเรียกว่า Terrestrial Planets (หมายถึง “บนพื้นโลก”) ได้แก่ ดาวพุธ (Mercury), ดาวศุกร์(Venus), โลก (Earth) และดาวอังคาร (Mars) ซึ่งจะใช้แถบของ ดาวเคราะห์น้อย (Asteroid Belt) เป็นแนวแบ่ง

        - ดาวเคราะห์ชั้นนอก (Outer or Jovian Planets): จะเป็นกลุ่มดาวเคราะห์ ที่อยู่ไกลดวงอาทิตย์มากกว่าอีกกลุ่ม เป็นดาวเคราะห์ที่เพิ่งเย็นตัว ทำให้มีผิวนอก ปกคลุมด้วยก๊าซ เป็นส่วนใหญ่ เหมือนพื้นผิวของดาวพฤหัส ทำให้มีชื่อเรียกว่า Jovian Planets (Jovian มาจากคำว่า Jupiter-like หมายถึง คล้ายดาวพฤหัส) ได้แก่ ดาวพฤหัส (Jupiter), ดาวเสาร์ (Saturn), ดาวยูเรนัส (Uranus), ดาวเนปจูน (Neptune)  

     ภาพภาพแสดงระยะทางเฉลี่ย ของดาวเคราะห์ชั้นนอก จากดวงอาทิตย์ โดยที่ Light Hours หมายถึง ระยะเวลาที่แสง เดินทางจากดวงอาทิตย์ มาถึงดาวเคราะห์นั้น (หน่วยเป็นชั่วโมง) และ Astronomical Units หมายถึง ระยะทาง ในหน่วยดาราศาสตร์ (AU)

 2. แบ่งตามวงทางโคจรดังนี้ คือ

     - ดาวเคราะห์วงใน (Interior planets) หมายถึงดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ได้แก่ดาวพุธ และดาวศุกร์

     - ดาวเคราะห์วงนอก (Superior planets) หมายถึง ดาวเคราะห์ที่อยู่ถัดจากโลกออกไป ได้แก่ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน

 3. แบ่งตามลักษณะพื้นผิว ดังนี้

     - ดาวเคราะห์ก้อนหินได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร ทั้ง 4 ดวงนี้มีพื้นผิวแข็งเป็นหิน มีชั้นบรรยากาศบางๆ ห่อหุ้ม ยกว้นดาวพุธที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดไม่มีบรรยากาศ

     - ดาวเคราะห์ก๊าซ ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน จะเป็นก๊าซทั่วทั้งดวง อาจมีแกนหินขนาดเล็ก อยู่ภายใน พื้นผิวจึงเป็นบรรยากาศที่ปกคลุมด้วยก๊าซมีเทน แอมโมเนีย ไฮโดรเจน และฮีเลียม

(สำหรับดาวพลูโตนั้นยังสรุปไม่ได้ว่าเป็นพวกใด เนื่องจากยังอยู่ห่างไกลจากโลกมาก)

       

นอกจากที่เราทราบว่า ดาวเคราะห์จะหมุนรอบตัวเอง โคจรไปรอบๆดวงอาทติย์แล้ว แกนของแต่ละดาวเคราะห์ ยังเอียง (จากแนวตั้งฉากของการเคลื่อนที่) ไม่เท่ากันอีกด้วย นอกจากนี้ เมื่อเทียบทิศทางของ การหมุนรอบตัวเอง กับการหมุนรอบดวงอาทิตย์ ของแต่ละดาวเคราะห์ พบว่า ดาวศุกร์ (Venus), ดาวยูเรนัส (Uranus) จะหมุนรอบตัวเอง แตกต่างไปจากดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ในระบบสุริยะจักรวาลของเรา

cd:http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/sakaew/rungaroon_k/star/sec04p01.html

ทางช้างเผือก (THE MILKY WAY)

       ในบรรดากาแล็กซีจำนวนมากที่รวมกันเป็นเอกภพนั้น มีอยู่กาแล็กซีหนึ่งที่เรารู้จักกันดีที่สุด นั่นคือ ทางช้างเผือก เนื่องจากเป็นกาแล็กซีที่เราตั้งรกรากอยู่  และเนื่องจากว่าทางช้างเผือกนี้มีส่วนปลายด้านหนึ่งเป็นแนวราบซึ่งเป็นที่อยู่ของดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ทั้งหลายที่เป็นดาวบริวาร  ทำให้เราได้แต่เฉพาะด้านข้างของมันเมื่อมองไปบนฟ้าในเวลากลางคืน  และจะแลเห็นมันเป็นเหมือนแถบสีขาวสว่างสุกใสแถบหนึ่งพาดอยู่บนฟากฟ้าจากข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง

ประวัติ (HISTORY
อริสโตเติล (Aristotle) คิดว่าแถบสีขาวที่พาดข้ามฟ้าเป็นความปั่นป่วนอย่างหนึ่งของบรรยากาศในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อมีการสร้างกล้องโทรทรรศน์ขึ้นได้เป็นครั้งแรกแล้วนั้น  กาลิเลโอก็ได้พบว่าแถบสีขาวนี้แท้ที่จริงประกอบขึ้นด้วยดาวฤกษ์จำนวนมากและไม่ได้เป็นปรากฎการณ์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบรรยากาศของโลกเราเลยแม้แต่น้อย  ต่อมาก็ได้มีการค้นพบดาวฤกษ์ใหม่ ๆ ทีละดวงสองดวง และตั้งแต่นั้นมา คำว่าทางช้างเผือก (the Milky Way) ก็มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าเอกภพ (the Universe) แต่ครั้นถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 อันเป็นยุคที่มีการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ใหม่  กลับพบว่ามีหมู่ของดาวฤกษ์ (Clusters of Stars) อื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกลออกไปอีกเป็นจำนวนมหาศาล  นั่นคือกาแล็กซีใหม่จำนวนมาก  ดังนั้นเอกภพจึงไม่ใช่เป็นแค่ทางช้างเผือกอีกต่อไป  แต่มันคือที่รวมของกาแล็กซีต่าง ๆ รวมทั้งกาแล็กซีของเราด้วย

รูปร่างของกาแล็กซีของเรา (THE SHAPE OF OUR GALAXY)
เมื่อเรามองทางช้างเผือก  เราจะแลเห็นว่ามันเป็นรูปแถบยาวแถบหนึ่ง  แต่นั้นเป็นแต่สิ่งที่เราเห็นด้วยตา เพราะว่าเราอยู่ในระนาบเดียวกัน  ที่จริงแล้วทางช้างเผือกเป็นกาแล็กซีรูปเกลียวก้นหอย (spiral)  ที่ตรงกลางมีรูปคล้ายเลนส์หรือจานแบนใบหนึ่งและมีแขนยื่นออกมาจากส่วนกลางนั้น 4 แขน  ดวงอาทิตย์และโลกของเราอยู่ตรงปลายสุดของ 1 ใน 4 แขนนี้

วิวัฒนาการของทางช้างเผือก (EVOLUTION OF THE MILKY WAY)
ดูเหมือนว่าทางช้างเผือกนั้นแต่เดิมเป็นกาแล็กซีรูปทรงกลมที่หมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วต่ำ  ต่อมาเมื่อสสารระหว่างดวงดาวตรงใจกลางมีมากขึ้นทำให้มีความหนาแน่นเพิ่มขึ้นและความเร็วในการหมุนรอบตัวเองก็เพิ่มขึ้นด้วย  เป็นเหตุให้มันค่อย ๆ  แผ่เบนออกกลายเป็นรูปจานอย่างที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน  และเพราะว่ามีดาวฤกษ์ได้ก่อตัวขึ้นตรงบริเวณชายขอบจานทำให้เกิดเป็นแขนหลายแขนยื่นออกมา  จนในที่สุดก็เกิดเป็นรูปเกลียวก้นหอยรูปหนึ่งที่มีแขน 4  แขน  กระบวนการนี้กินเวลาประมาณ 10,000 ล้านปี    ใจกลางของทางช้างเผือกมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ  15,000  ปีแสง  และมีความหนาราว  2,000  ปีแสง    มีการคำนวณกันว่าทางช้างเผือกประกอบขึ้นด้วยดาวฤกษ์ประมาณ  300,000  ดวง  ดาวทุกดวงที่เรามองเห็นด้วยตาเปล่าเป็นส่วนหนึ่งของกาแล็กซีของเรา

                            cd:http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/phayao/oraphin_s/darasat/section1_p06.html